กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการการฝากครรภ์ และส่งเสริมการรับวัคซีนตามวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยอย่างรวดเร็ว จากการเกิดที่มีจำนวนน้อยลงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ เช่น ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มใช้ชีวิตโสดมากขึ้น แต่งงานช้าลง “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 2560)การส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพได้มีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อก้าวไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว คุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย โดยอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา จากการภาวะโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์ ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 42 ของการตั้งครรภ์และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ20 โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจาก ภาวะขาดธาตุเหล็ก ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบโลหิต โดยในครรภ์เดี่ยวจะมีการเพิ่มปริมาณเลือดทั้งหมดประมาณร้อยละ 50(1000 ml) โดยปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 25 (300 ml) ซึ่งการที่มีปริมาณพลาสมาเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่า ทำให้เกิดภาวะ hemodilution ซึ่งไม่ใช่ภาวะโลหิตจางที่แท้จริง และ Hb มักไม่ต่ำกว่า 10 g/dl(3) การดูแลการคัดกรอง ให้คำปรึกษา และการติดตามดูแลภาวะแทรกซ้อน ในขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น ซึงภาวะซีดในมารดา ส่งผลถึงภาวะซีดในเด็กเล็ก การเตรียมความพร้อมของครอบครัว การดูแลก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ การส่งเสริมการเจริญเติบโต การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย ปัญหาดังกล่าว จัดทำโครงการบูรณาการการฝากครรภ์ และส่งเสริมการรับวัคซีนตามวัย เพื่อป้องกันมารดาตาย โดยให้สตรีและเด็กปฐมวัยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เริ่มตั้งแต่การเตรียมครอบครัวคุณภาพ การตั้งครรภ์คุณภาพ การส่งเสริมการเกิดและเติบโตของเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย และได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ เพื่อลดการเกิดโรคจากวัคซีนที่ป้องกันได้ เพื่อเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
การจัดเก็บและการขนส่งวัคซีนที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้รับบริการ ที่จะไม่ได้รับการป้องกันจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และอาจเกิดอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Event Following Immunization: AEFI) ได้ด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ คลอดทารกน้ำหนักมากว่า 2500 กรัมและคลอดที่โรงพยาบาล

 

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ในการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้

 

0.00
4 มีตู้เย็นที่สามรถควบคุ้มอุณหภูมิ ลดการเสื่อมสภาพของวัคซีนได้

 

0.00
5 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.ในงานอนามัยแม่และเด็ก ให้มีความรู้ความสามารถในการแนะนำ และติดตามหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และการดูแลส่งเสริมสุขภาพ เด็ก 0-5 ปี(4D)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเตรียมพร้อมการตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และวัคซีนเด็กตามวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเตรียมพร้อมการตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และวัคซีนเด็กตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆ ละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ   เป็นเงิน 3,750  บาท     1.2 ค่าอาหารว่างจำนวน 50 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ         เป็นเงิน 2,500  บาท     1.3 ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 คน          เป็นเงิน 1,800  บาท     1.4 ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2*2.4 เมตรพร้อมออกแบบ          เป็นเงิน  800  บาท     1.5. จัดซื้อพัสดุสำหรับดูแลสุขภาพทารกในการรับวัคซีนตามวัย        - ตู้เย็นขนาด 9 คิวบิกฟุต              เป็นเงิน 13,000 บาท
- .เครื่องชั่งน้ำหนักอ่อน Zapper Mosel ACS-20B-YE ระบบดิจิตอล เป็นเงิน 7,000 บาท - เตียงวัดความยาวเด็กเล็ก                เป็นเงิน 2,500 บาท     1.6 วัสดุในการจัดอบรม ส่งเสริมการฝากครรภ์ และเยี่ยมหลังคลอด   เป็นเงิน 4,075  บาท
        รวมเป็นเงิน 35,425 บาท (เงินสามหมื่นห้าพันหกร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35425.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมอบรมแกนนำ อสม.เรื่องวัคซีน โภชนาการ/พัฒนาการ และภาวะโลหิตจางในเด็ก 6-12เดือน (การใช้สมุดสีชมพู)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอบรมแกนนำ อสม.เรื่องวัคซีน โภชนาการ/พัฒนาการ และภาวะโลหิตจางในเด็ก 6-12เดือน (การใช้สมุดสีชมพู)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าอาหารกลางวันจำนวน 35 คนๆ ละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ       เป็นเงิน 2,625 บาท          2.2 ค่าอาหารว่างจำนวน 35 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ           เป็นเงิน 1,750  บาท             รวมเป็นเงิน 4,375บาท (หนึ่งสี่พันสามร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงที่วางแผนการตั้งครรภ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ในการเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพตนเอง และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดได้ ร้อยละ 80
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ร้อยละ 80
3. ญาติของหญิงตั้งครรภ์ และผู้ดูแลเข้าใจความสำคัญของการรับประทานอาหาร ยา และวัคซีนทั้งในหญิงตั้งครรภ์ และเด็กตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 80
4. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องวัคซีน โภชนาการ และภาวะโลหิตจางในเด็ก 6-12เดือน ร้อยละ 80
5. พัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.ในงานอนามัยแม่และเด็ก (หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และการดูแลส่งเสริมสุขภาพ เด็ก 0-5 ปี) ให้มีความรู้ความสามารถในการแนะนำ ติดตามและพิจารณาส่งต่อในรายผิดปกติ
6.มีห่วงโซ่วัคซีนที่ดี และวัคซีนมีคุณภาพ


>