แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน รหัส กปท. L5294
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นายอภิชาติ ปัจฉิมศิริ ผอ.รพ.สต.บ้านวังตง
นางสุรัชดา อุมายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง พัฒนาการไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียใต้ พบได้มากสุดถึงร้อยละ 65 (WHO, 2019: Online) ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2561 – 2563 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2561-2562 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 16.06 และ 16.43 ตามลำดับ (HDC,2563) กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2563 ลดลง เป็นร้อยละ 15.15 อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 กำหนดเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานแม่และเด็กปี 2567 ของ รพ.สต.บ้านวังตง อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 18.18 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดแต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์และยังส่งผลต่อภาวะการตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดจึงได้จัดทำโครงการ “โครงการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธ์โดยดึงพลังแกนนำของประชาชนโดย แกนนำสุขภาพบุคคลใกล้ชิด ให้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์
-
1. 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงจากภาวะซีดและแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงทีตัวชี้วัด : 1.ร้อยละหญิงที่สิ้นสุดตั้งครรภ์ทุกรายลดปัจจัยเสี่ยงจากภาวะภาวะซีด ไม่เกินร้อยละ10ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. 2 เพื่อเฝ้าระวังส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอดตัวชี้วัด : 1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์และฝากครรภ์ทันทีเมื่อตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์) ร้อยละ 90 2.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพ 8 ครั้งขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. 3.เพื่อช่วยลดอัตราตายของ หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของ การตั้งครรภ์ตัวชี้วัด : 1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง ร้อยละ 100 2.ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด ร้อยละ100 3.ร้อยละของทารก แรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมน้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 7.00ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำหมู่บ้านและอสม. จำนวน 54 คน จัดทำแผนการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการรายละเอียด
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำ
อสม. 25 บาท x 54 คน = 1,350 บาท
งบประมาณ 1,350.00 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำ
- 2. 2.จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และพ่อ-แม่หรือผู้ดูแลเด็ก จำนวน 20 คนรายละเอียด
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมโรงเรียนพ่อ-แม่ในหญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดและสามี 25 บาท x 20 คน = 500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมโรงเรียนพ่อ-แม่ในพ่อ-แม่และผู้ดูแลเด็ก (WWC) 25 บาท×20คน=500 บาท
งบประมาณ 1,000.00 บาท - 3. จัดอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีคู่อยุ่กินกับสามีและหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน 40 คนรายละเอียด
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีคู่อยู่กินกับสามีและหญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอด 25 บาท x 40 คน X 2 มื้อ = 2,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันในการอบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีคู่อยู่กินสามีและหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50บาท×40คน=2,000 บาท -ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาท×6 ชั่วโมง×1 คน = 1,800 บาท ค่าป้ายโครงการ 1 ป้าย= 500 บาท
งบประมาณ 6,300.00 บาท - 4. จัดกิจกรรมการเจาะคัดกรอง ฮีมาโตคริต พร้อมจ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีคู่อยู่กินกับสามี จำนวน คน 70 คนรายละเอียด
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีคู่อยู่กินกับสามี 25 บาท×70 คน=1,750 บาท -ค่าแถบเจาะเลือด Hematocrit 25×100=2,500 บาท -ค่าเข็มเจาะเลือด Hematocrit 3×100=300 บาท -ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ferrous fumarate 200 mg 1,000 tab =180 บาท
งบประมาณ 4,730.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ในเขต รพ.สต.บ้านวังตง
รวมงบประมาณโครงการ 13,380.00 บาท
- หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีคู่อยู่กินกับสามีในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กลดลง
- หญิงมีครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หลังคลอด
- หญิงตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์และทารกอายุ 6 -12 เดือนภาวะโลหิตจางลดลง
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน รหัส กปท. L5294
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน รหัส กปท. L5294
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................