กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ปีงบประมาณ2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา

ม.4 ม.5 ม.6 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของร้านชำที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ

 

51.43

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหารเครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ จากสภาพปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของร้านชำในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา พบว่าร้านชำในชุมชนทั้งหมดจำนวน35 ร้าน มีร้านชำที่ยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องจำนวน18 ร้านคิดเป็นร้อยละ 51.43 มีการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่เสื่อมสภาพหมดอายุ ไม่มี อย. เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ จำหน่ายยาอันตรายอีกทั้งในปัจจุบันมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆบางผลิตภัณฑ์มีการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในสรรพคุณ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลือกซื้อ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับอันตรายจากการบริโภคได้ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้งานคุ้มครองผู้บริโภคกระจายลงสู่ชุมชน โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนเพื่อดูแลประชาชนให้ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีมาตรฐานรองรับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ที่ปลอดภัยเป็นต้น ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนายกระดับร้านขายของชำในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจึงได้จัดทำโครงการร้านชำปลอดภัยใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและเพื่อดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และจำหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัย

1.ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เพิ่มขึ้น และจำหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัย

50.00 80.00
2 เพื่อยกระดับร้านชำในพื้นที่ให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ

2.ร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินร้านชำคุณภาพ ร้อยละ80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินมาตรฐานร้านชำคุณภาพแก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินมาตรฐานร้านชำคุณภาพแก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพแก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำ จำนวน 35 คน งบประมาณมีดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 35 คนx 60บาท x 1มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท 2.ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท 3.ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม กระเป๋าใส่เอกสารจำนวน 35 ใบ x 60 บาท เป็นเงิน 2,100บาท 4.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 2 x 1 เมตร x250บาท เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท เป็นเงิน 10,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ผู้ประกอบการร้านขายของชำเข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 ผลผลิต 1. ผู้ประกอบการร้านชำได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ เพื่อนำไปพัฒนาร้านชำตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจประเมินร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจประเมินร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ โดยจะลงพื้นที่ประเมินร้านขายของชำในพื้นที่ทุกร้าน และจะประเมินซ้ำในกรณีตรวจประเมินรอบแรกไม่ผ่าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ร้านขายของชำได้รับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพร้อยละ 100 ผลลัพธ์ 1. ร้านขายของชำผ่านการประเมินมาตรฐานร้านชำคุณภาพร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,050.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้านขายของชำในหมู่บ้านมีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค


>