กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การอาบน้ำมัยยิต(ศพ)ตามหลักศาสนาและลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การอาบน้ำมัยยิต(ศพ)ตามหลักศาสนาและลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1.นายบาสือลัม หะยีมะดีเยาะ 2.นางสาวอาซูรา ดิง 3.นายมะรูดิง เจ๊ะหะ 4.นางสาวซะอิด๊ะ หะยีสาอิ 5.นางสาวราตีผ๊ะวาแมง

ณ.องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศาสนาอิสลามจึงสอนให้มนุษย์ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ อดทนต่อความทุกข์ การเจ็บป่วยที่ผ่านเข้ามาเพราะนั่นเป็นเพียงบททดสอบถึงความศัทธาที่มีต่อพระเจ้า ผู้ที่ท้อแท้ สิ้นหวังกับชีวิตพึงระลึกไว้เสมอว่าพระเจ้าเป็นที่พึ่งและเมตตาให้อภัยมนุษย์เสมอ
จงอย่าสิ้นหวังใมนความเมตรตาของอัลลอฮ์ ดังนั้น มนุษย์จึงควรทำความดีเพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในโลกหน้าอย่างมีความสุข เมื่อมุสลิมเสีนชีวิตญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องอาบน้ำ ห่อละหมาดขอพรและฝังศพที่สุสาน(กูโบร์)โดยต้องรีบจัดการให้เสร็จภายในเวลา24 ชั่วโมง
อิสลามส่งเสริมให้ผู้ที่จะทำการอาบน้ำให้กับศพนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีรการอาบน้ำศพตามหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนการอาบน้ำและห่อศพผู้เสียชีวิตนั้น โดยส่วนใหญ่จะทำกันที่บ้านของผู้เสียชีวิต และมักจะไม่มีการป้องกันอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ เช่น การสวมถุงมือยางที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการสวมผ้าปิดปาก เป็นต้นซึ่งการเสียชีวิตของมนุษย์นั้น มีลักษณะหลายรูปแบบ ตามเหตุการณ์และสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อทั้งต่อผู้ที่จัดการศพเองและคนในชุมชนได้
ดังนั้น ด้วยสถานการณ์ ปัจจุบันญาติหรือผู้ที่ทำการอาบน้ำศพ ยิ่งจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ ทางกลุ่มจิตอาสาร่วมใจพัฒนาชุมชน บ้านกาเยาะมาตี หมู่ที่ 6ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้เล็งเห็นปัญหาสำคัญนี้ จึงได้เสนอจัดโครงการให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการจัดการศพ โดยใช้หลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพ และคนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้อง ตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรประสบการณ์ตรง 2.เพื่อให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ

กลุ่มเป้าหมายผ่านหลักสูตรการอบรม ร้อยละ 100 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
ผู้ที่รับการอบรมมีความเข้าใจสามารถการอาบน้ำศพ การห่อศพ ที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 ผู้ที่รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพื่อป้องกันโรคติดต่อในขณะจัดการศพตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2025

กำหนดเสร็จ 16/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้การอาบน้ำมัยยิต (ศพ) ตามหลักศาสนาและลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้การอาบน้ำมัยยิต (ศพ) ตามหลักศาสนาและลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการฯขนาด 1.2 × 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 1,050บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน3 ชม.ๆละ 600 บาท2 วันเป็นเงิน 3,600บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากรปฏิบัติ จำนวน 1 คน3 ชม.ๆละ 600 บาท2 วัน เป็นเงิน 3,600บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน4 มื้อๆ ละ 35 บาทวัน เป็นเงิน4,200บา
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน* 1 มื้อๆละ 80 บาท*2 วันเป็นเงิน 4,800บาท รวมเป็นเงิน17,250 บาท

***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2568 ถึง 15 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17250.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติการการอาบน้ำมัยยิต

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติการการอาบน้ำมัยยิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดผ้าขาวห่อศพ จำนวน 4 ชุดๆละ 700บาท*2 รุ่นเป็นเงิน 2,800 บาท

2.ถุงมือเบอร์ m จำนวน 6 กล่องๆละ 250 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท

3.ถังน้ำ จำนวน 8 ใบๆละ 100 บาทเป็นเงิน 800 บาท

4.หุ่นสาธิตการอาบน้ำมัยยิต 1 ตัว เป็นเงิน 2,650 บาท

รวมเป็นเงิน 7,750บาท

***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปปฎิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ญาติหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
2.ทำให้ญาติหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ ตามหลักสุขลักษณะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ


>