กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวตำบลปูโยะสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างสุขภาพเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเป็นระบบสุขภาพเชิงรุกจึงได้มีการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญในคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น การฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และ การออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 3 อ 2 ส รวมถึง การติดตามเยี่ยมกลุ่มแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสผู้ป่วยโรคติดต่อและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นหลักสำคัญในการสร้างสุขภาพแก่ประชาขนจากสถานการณ์ปัจจุบันประชาชนในพื้นที่โดยทั่วไป ยังมีพฤติกรรมด้านสุขภาพพลานามัยที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธีและถูกต้องดังนั้นเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่ และเพื่อมุ่งเน้นการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพและ ยืนยาว โดยให้ความสำคัญในลักษณะเชิงรุกคือ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้ปราศจากโรคภัย และให้ประชาชนตระหนักถึงการใส่ใจสุขภาพทุกช่วงวัยทั้งยังเป็นแกนนำในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้แก่สมาชิกในครอบครัวและประชาชนทั่วไป
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปูโยะ ได้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรงและตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย การทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ความรักและความสามัคคีโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริงจึงจัดทำโครงการชาวตำบลปูโยะสุขภาพดีปีงบประมาณ 2568ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพทุกกลุ่มวัย ดูแล ติดตามเยี่ยม ฟื้นฟูสุขภาพประชาชน ทั้งด้านกายและจิตใจต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง

ร้อยละประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

80.00 1.00
2 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความรักและความสามัคคี

ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนในตำบลปูโยะ ทุกกลุ่มวัย 500

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งด้านกาย และจิตใจ เชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งด้านกาย และจิตใจ เชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 500 คน x 30 บาท x 1 มื้อ   เป็นเงิน  15,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ดูแลติดตาม เยี่ยม ฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่ดี


>