กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลศรีบรรพต

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม
นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ
นายบัญชา ทองขุนดำ
นายเจริญศักดิ์ ทองอ่อน
นางสาวณัฏฐ์นรี สังข์แก้ว
นางนงนุช นาจันทร์

หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ปี 2565 - ปี 2567 คือ 11,55 และ 393 ต่อแสนประชากรตามลำดับ โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศไทยมายาวนาน เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ เดิมการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะพบบ่อยในกลุ่มอายุ ระหว่าง 15 - 24 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุและพบได้ทุกฤดูกาล สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดพัทลุง จากข้อมูลของกลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง พบว่าในปี 2566 - 2567 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 189 และ 419 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจากการรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออก อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง พบว่าในปี 2566 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 55 ต่อแสนประชากร ในปี 2567 อัตราป่วยเท่ากับ 393 ต่อแสนประชากร ถึงแม้ทีม CDCU ตำบลเขาย่า จะดำเนินการเฝ้าระวังโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่อยู่ จึงจำเป็นต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่องมากขึ้น ดังนั้น กลุ่มบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก อย่างน้อยร้อยละ 80

80.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำอย่างสม่ำเสมอ

ค่าดัชนีลูกน้ำในชุมชนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เกินร้อยละ 10

10.00 10.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/04/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม -ทำแบบประเมินความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก่อนร่วมโครงการ -ให้ความรู้เรื่องการติดต่อของโรคไข้เลือดออก อาการ การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการป่วย การป้องกันโรคไข้เลือดออก ฯลฯ แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
-กิจกรรมอบรมให้ความรู้การสำรวจลูกน้ำยุงลาย การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย -ให้ความรู้เรื่องวงจรชีวิตยุงลาย -ให้ความรู้เรื่องหลักการสำรวจลูกน้ำยุงลายและความจำเป็นที่ต้องทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย -แนะนำจุดเสี่ยงที่มักพบลูกน้ำยุงลาย -บรรยาย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค (3 เก็บ ได้แก่ เก็บน้ำ เก็บบ้าน เก็บขยะ ป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า และโรคปวดข้อยุงลาย) -กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเพื่อหาแนวทางหรือวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ชุมชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก -การนำเสนอจากผู้เข้าร่วมโครงการในหัวข้อทำอย่างไรให้ชุมชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดในโครงการ ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

-ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย และเข้าใจถึงหลักการ/วิธีการสำรวจลูกน้ำยุงลายและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เหมาะสม

-ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย ลงพื้นที่สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงหลักการ/วิธีการสำรวจลูกน้ำยุงลายและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เหมาะสม

-ค่าดัชนีลูกน้ำในชุมชนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เกินร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก อย่างน้อยร้อยละ 80
2. ค่าดัชนีลูกน้ำในชุมชนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เกินร้อยละ 10
3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร


>