แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กโรงเรียนวัดโพรงงู ปีงบประมาณ 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
โรงพยาบาลศรีบรรพต
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม
1.นางสาวณัฏฐ์นรี สังข์แก้ว
2.นายเจริญศักดิ์ ทองอ่อน
3.นางพรเพ็ญ มากเอียด
4.นางพรทิพย์ เรืองพุทธ
5.นางสาวสาวิตรี จันทร์มณี
โรงเรียนวัดโพรงงู ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญ จากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กไทย อายุ 6 เดือน - 12 ปี ระหว่าง 1 ตุลาคม - 30 กันยายน 2565 พบว่าเด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีภาวะโลหิตจางสูง ร้อยละ 34.4 เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบท ถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุก ร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโต จึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้น การขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6 -12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6 -12 เดือน 3 - 6 ปี แต่ทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม ยังเห็นความสำคัญในเด็กนักเรียน อายุ 6 - 12 ปี ด้วย จึงได้มีการจัดโครงการคัดกรองภาวะซีดในกลุ่มนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธ์ ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต จึงจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดโพรงงู ปีงบประมาณ 2568 เพื่อช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/10/2024
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เด็กอายุ 6 - 12 ปี ได้รับการคัดกรองภาวะซีด ร้อยละ 80
2.เด็กอายุ 6 - 12 ปี ที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 90
3.เด็กอายุ 6 - 12 ปี มีภาวะซีดลดลง น้อยกว่าร้อยละ 20