กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตาดีกาบ้านโคกทราย สร้างสุขนิสัย รักสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) บ้านโคกทราย

1. นายบาหยน ม่าหมูด โทรศัพท์ 085-3623835
2. นายมัสรัญ บูนำ โทรศัพท์ 080-7017741
3. นายพิศร ลามาก โทรศัพท์ 085-0793730
4. นายมูฮัมหมาดซุกรี สมาอูน โทรศัพท์ 087-8376140
5.นางอาซีย๊ะ บูนำ โทรศัพท์ 087-2900271

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) บ้านโคกทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ

 

16.00

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปการพัฒนาเด็ก และเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ระดับครอบครัวโรงเรียนชุมชนและองค์กรในท้องถิ่นซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัยซึ่งศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขนอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียนการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยการให้ความรู้ด้านสุขภาพตามวิถีของอิสลาม ซึ่งเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และครอบคลุมทุกๆ ด้าน (The way of life) เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยนั้น อิสลามได้พูดถึงอย่างละเอียดทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) บ้านโคกทราย ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการตาดีกาบ้านโคกทราย สร้างสุขนิสัย รักสุขภาพขึ้น เพื่อให้นักเรียนครู ได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องตามวิถีของอิสลาม รู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนได้ตลอดจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน

นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน อย่างน้อยร้อยละ 90

75.00 90.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้

นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้ อย่างน้อยร้อยละ 80

62.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของนักเรียน
กำหนดการ
08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 09.00 น. เปิดโครงการ โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
09.00 – 10.00 น. กิจกรรม“สุขภาพในวิถีอิสลาม”
10.00 – 11.00 น. กิจกรรม “สุขภาพในศาสนพิธี”
11.00 -12.00 น. โรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่าง ๆ
12.00 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน/ประกอบศาสนกิจ
13.30 -14.30 น. การดูแลตนเองตามหลักสาสนาอิสลาม
14.30-15.30 น. กิจกรรมสันทนาการ
15.30 น. ปิดโครงการ
*หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00-10.15 น. และ เวลา 14.30-14.45 น.

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน 90 คน เป็นเงิน 5,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
3. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
4. ค่าวัสดุเอกสารประกอบการอบรม (สมุด ปากกา แฟ้มพลาสติก) จำนวน 90 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
5. ค่าจัดทำเอกสารรายงานผลโครงการ เป็นเงิน 250 บาท
* หมายเหตุ
1.ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้
2.ค่าอาหารกลางวันตาดีกาเบิกจ่ายจากศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) โคกทราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของนักเรียน ให้กับนักเรียน จำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน
2.นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้


>