กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กดี วัคซีน พัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0 - 72 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ สังกัดกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส

-

โรงพยาบาลส่งเสรริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

เนื่องจากช่วงอายุของเด็ก 0-5 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญของพัฒนาการทางด้านสมอง เด็กสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทั้งการมองเห็น การเคลื่อนไหว การควบคุมอารมณ์ ทักษะด้านภาษาและสังคม หากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการ และเตรียมความพร้อมในเรื่องของพัฒนาการ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มีเป้าหมายคัดครองพัฒนาการเด็กช่วงอายุของเด็ก 0-5 ปี ประจำปีงบ 2568 จำนวน 318 คน ได้รับการคัดกรองแล้ว 138 คน ผลปรากฏมีส่งสัยพัฒนาการล่าช้ารอการกระตุ้น 30 วัน จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยล่ะ 18.12ถือว่ามีความเสี่ยง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวในพื้นที่รับผิดชอบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กการดูแลจากปู่ย่าตายาย เนื่องจากพ่อแม่ต้องไปทำงานต่างพื้นที่ต่างจังหวัดอาจไม่ได้รับการตรวจสอบพัฒนาการของเด็กเท่าที่ควร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะจึงเสนอโครงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิดถึงห้าปีแบบองค์รวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเด็ก กระบวนการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและลักษณะที่เกิดขึ้นทั้งร่างกาย สังคม อารมณ์ สมองและสติปัญญาของเด็ก ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องตามช่วงวัย เด็กทุกคนสามารถมีพัฒนาการที่สมวัย รวมถึงการให้ความรู้แก่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง

50.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียนเป็นวันที่อยู่มนระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธารติเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรทนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่างๆที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็กซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะจึงเสนอโครงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิดถึงห้าปีแบบองค์รวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อเป็นส่วนช่วยดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ช่วยให้เด็กได้มีอาหารการกินที่ดีมีคุณค่าทางอาหาร และได้ปริมาณครบถ้วน และมีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป

50.00
3 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้วัคซีนในเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ มีที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม มีพัฒนาการสมวัย หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ บิดามารดาและครอบครัว คือบุคคลที่มีบนบาทสำคัญของการเลื้ยงดูเด็กและสร้างเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่เด็ก หากบิดามารดาและครวบครัว ขาตความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นถึงความสำคัญของการเลื้ยงดูเด็ก จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพเด็ก
กรมควบคุมโรคติดต่อ จึงได้กำหนดให้เด็กช่วงอายุควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยความควบคุมของการได้รับวัคซีนในแต่ละช่วงอายุ ต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ร้อยละ 90 นอกจากนี้โดยการสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดให้มีการบริการวัคซีนแก่เด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวัยเรียนซึ่งเด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ ซึ่งได้บริการให้ฟรีโดยเด็กทุกคนสามารถรับวัคซีนหล่าวนี้ได้จากสถานพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งและควรได้รับวัคซีนทุกช่วงอายุ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะจึงเสนอโครงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิดถึงห้าปีแบบองค์รวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบให้ได้รับวัคซีนครอบคลุม ตลอดจนดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าว

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์เด็กเล็ก(0-3 ปี) ขึ้น

ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

50.00 60.00
2 เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

50.00 60.00
3 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็ก วัคซีน พัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0 - 72 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อกิจกรรม
บรรยายอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็ก วัคซีน พัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0 - 72 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. บรรยายให้ความรู้เรื่องวัคซีน พัฒนาการเด็ก และภาวะโภชนาการ 0-72 เดือน จำนวน 50 คน งบประมาณโครงการ 2.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
    2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 2.3 ค่าวัสดุอบรมโครงการ 2.3.1 แฟ้มเอกสาร ขนาด A4 จำนวน 50 คน x 10 เป็นเงิน 500 บาท 2.3.2 สมุดปกน้ำตาล ขนาด A4 จำนวน 50 คน x 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
    2.3.3 ยางลบดินสอสีขาว ขนาดเล็ก จำนวน 50 คน x 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท
    2.3.4 ดินสอ 2B จำนวน 50 คน x 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท 2.4 ค่าวิทยากรอบรม จำนวน 4 ชั่วโมง x ราคา 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ช่วงอายุและอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลด
  2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
  3. เด็ก 0-5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
  4. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก
  5. ผู้ปกครอง ผู้เลื้ยงดูเด็กมีความรู้และมีความตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  6. ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
  7. ผู้ปกครอง ผู้เลื้ยงดูสามารถสังเกตและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติมโตของเด็กเหมาะสมตามวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ช่วงอายุและอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลด
2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
3. เด็ก 0-5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
4. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก
5. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
6. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
7. ผู้ปกครองสามารถสังเกตและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติมโตของเด็กเหมาะสมตามวัย


>