2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขที่ให้การรักษาฟรีจริง แต่สำหรับคนทุพพลภาพ อันประกอบด้วย 1) ผู้ป่วย 2) คน พิการ และ 3) ผู้สูงอายุการเดินทางไปสถานพยาบาลตามแพทย์นัดนั้นมีต้นทุนในด้านค่าขนส่งถึง 1500-2500 ต่อเที่ยว ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ไม่สามารถเข้าถึงบริการรถขนส่งผู้ป่วยไปสถานพยาบาลได้ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระ ทบต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชน ปัญหานี้อาจส่งผลให้คนที่มีความจำเป็นต้องไปรับการรักษาที่สถาน พยาบาลไม่สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทันเวลาและมีคุณภาพเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเดินทางด้วยรถขนส่งผู้ ป่วย จนสุดท้ายต้องนอนทนความเจ็บป่วยอยู่ที่บ้าน หรือไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ตามอาการจนนำไปสู่การสูญเสียในที่สุด 9e[]
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 ฉบับที่ 2 ประกอบกับประกาศ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพเพื่อเข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ.2567 ข้อ 4 ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพให้จ่าย สำหรับให้บริการบุคคล 3 ประเภท ดังนี้ 1. คนพิการ ได้แก่ บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การดำรงชีวิตหรือการทำกิจกรรมทาง สังคม เนื่องจากความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจอารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด และมีความจำเป็นพิเศษที่ต้องได้รับความช่วยเหลือด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ 2.ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60ปีขึ้นไป ทีมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง หรือมีภาวะทุพพลภาพทาง ร่างกายหรือจิตใจ และขาดผู้ดูแลหรือญาติพี่น้องที่สามารถให้การช่วยเหลือได้ 3.ผู้ที่มีความยากลำบากในการเข้าไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเอง ได้แก่ บุคคลที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย มีปัญหาสุขภาพจิต มีโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวหรือการเดินทาง หรือบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือทุรกันดาร หรือเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ยาก หรือ บุคคลที่มีฐานะยากจนไม่สามารถจ่ายค่าเดินทางไปสถานพยาบาลได้ ขาดผู้ดูแลหรือญาติที่สามารถพาไปรับบริการทางการแพทย์ มีอุปสรรคด้านการสื่อสารที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ด้วยตนเอง หรือบุคคลที่ต้องการการดูแลพิเศษระหว่างเดินทาง หรือมีความกลัวหรือวิตกกังวลอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการออกนอกบ้านหรือเพื่อการเข้ารับบริการ ทางการแพทย์
องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิตจึงได้จัดโครงการมอบรอยยิ้ม คนทุพพภาพการเข้าถึงบริการ สาธารณสุข ปี 2568 ช่วยเหลือประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการรับ-ส่ง ผู้ป่วยเพื่อไปสถานพยาบาลได้ เพื่อให้ผู้ป่วย ได้เข้ารับการรักษาตามที่แพทย์นัดหมาย สร้างโอกาสให้ได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งจะยังผลไปยังญาติผู้ดูแลใน การลดภาระค่าใช้จ่าย ให้สามารถกลับไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพและดูแลครอบครัวต่อไปได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เกิดเครือข่ายรถ รับ-ส่ง คนทุพพลภาพในชุมชน
2.คนทุพพลภาพเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ หรือที่จำเป็น