กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านสะพานเคียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน

1.นายเจ๊ะกอเด แซะอาหลี
2.นางสาวเสาด๊ะ ทิ้งปากถ้ำ
3.นางสาวอาซีซ๊ะ ล่านุ้ย
4.นางสาวกัญญา โต๊ะประดู่
5.นางสาวอัซเซาะฝุด ตาเดอิน

มัสยิดบ้านสะพานเคียน หมู่ที่ 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง ร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตในระดับโลก และ ร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตในประชากรไทย ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากข้อมูลจำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ ของกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ย้อนหลัง 3 ปี (2565-2567) พบว่า ประเทศไทยมีอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 564.78 , 609.03 และ 644.11 อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร มีจำนวน 1165.79 , 1247.34 และ 1362.03 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า อัตราป่วยจากทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีอัตราที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด สถานการณ์อัตราตายต่อแสนประชากร ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงใน จังหวัดสตูล พบอุบัติการณ์การป่วยด้วยโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากร ย้อนหลัง 3 ปี (2565-2567) อยู่ที่ 413.75 , 477.71 และ 491.36 อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความตันโลหิตสูงต่อแสนประชากร ย้อนหลัง 3 ปี (2565-2567) อยู่ที่ 1006.36 , 1317.85 และ 1361.43 ตามลำดับ และจากข้อมูลการคัดกรองประชาชนในจังหวัดสตูล พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ได้รับการคัดกรอง แล้วพบความเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยว่าป่วย ย้อนหลังตั้งแต่ปี (2565-2567) มีข้อมูลเป็น ร้อยละ 14.48 , 24.00 , 26.74 และข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการคัดกรองแล้ว พบความเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยว่าป่วย ย้อนหลังตั้งแต่ปี (2565-2567) มีร้อยละ 15.13 , 23.27 , 25.98 ซึ่งจากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น (รายงาน Health Data Center,2567) ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2565-2567 มีจำนวน 1,059 คน, 1,097 คน, 1,252 คน ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปี 2565 - 2567 มีจำนวน 2,944 คน, 2,954 คน, 3,203 คน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ป่วยจากทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ข้อมูลสถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ปี 2565 - 2567 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 485 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานย้อนหลัง 3 ปี(2565-2567) มีจำนวนผู้ป่วย 407 คน, 412 คน และ 481 คน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ย้อนหลัง 3 ปี (2568-2567) จำนวน 22 ,28 และ 28 ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 1,191 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ย้อนหลัง 3 ปี (2565-2567) ดังนี้ มีจำนวนผู้ป่วย 1,108 คน, 1,105 คน และ 1,191คน ตามลำดับ (รายงาน Health Data Center,2567) จะเห็นได้ว่า อัตราป่วยจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีอัตราที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด
จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของหมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน ปี 2567 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง จำนวน 383 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 14.53 และพบกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน ร้อยละ 26.47 ซึ่งกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 26 คน เป็นผู้ป่วยสงสัยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 15 คน และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 54 คน เป็นผู้ป่วยสงสัยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 2 คน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคด้วย 3 อ 2 ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม และมุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมายมีสถานะสุขภาพดีขึ้นและไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

กลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการป้องกันคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

กลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 คน     เป็นเงิน 900 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 บาท จำนวน 200 คน           เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน ตารางเมตรละ 150 บาท   เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตลับวัดรอบเอว จำนวน 1 อัน ราคา 280 บาท  เป็นเงิน 280 บาท
  • เครื่องวัดความดัน จำนวน 1 เครื่อง ราคา 1,550 บาท เป็นเงิน 1,550 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง ราคา 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • แถบตรวจน้ำตาล จำนวน 4 กล่อง ราคา 490 บาท เป็นเงิน 1,960 บาท
  • เข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 2 กล่อง ราคากล่องละ 650 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนเพื่อการรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5690.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนเพื่อการรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป


>