กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “ส่งเสริมและป้องกันโรค NCDs ในประชาชน 35 ปีขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2568 ภายในตำบลถนน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่3 ตำบลถนน

1.นางสาวสาแลห๊ะ การี 2.นางสาวคอลีเย๊าะ นิแม 3.นางสาวมารีนา โต๊ะแวหะยี 4.นางสาวรอฮานา สาเมาะ 5.นางสาวดาลิกา สาและ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนิน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคถุงลมโปร่งพอง และโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลก จาการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ( WHO )พบประชาการทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชาการโลก ) ปี พ. ศ. 2557- 2561 พบอัตราเสียชีวิตอย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปี พ. ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมา คือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด
ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมีแนวคิดจะจัดการอบรมการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะสามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดโอกาสการเกิดโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพและให้บริการ รักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่ตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เพื่อประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการ“ส่งเสริมและป้องกันโรค NCDs ในประชาชน 35 ปีขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2568 ภายในตำบลถนน ”ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อเรื้อรัง
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :1.ประชาชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคติดต่อเรื่อรังได้
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง มีความรู้และทัศนคติ ที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฎิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :2.สามารถพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง มีความรู้และทัศนคติ ที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฎิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
3.เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันโรคด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการกลุ่มเปลี่ยนเรียนรู้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 21/04/2025

กำหนดเสร็จ : 22/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง NCDs ประชาชนในกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง NCDs ประชาชนในกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้าย โครงการ                              เป็นเงิน 750 บาท
  2. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง NCDs ประชาชนในกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป

- ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรมให้ความรู้ 80 คน ๆ ละ 50 บาท            เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คน ๆ ละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ          เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท            เป็นเงิน 1,800 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในโครงการ
- ค่าจัดซื้อ เครื่องวัดความดัน จำนวน 1 เครื่อง                  เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าจัดซื้อ เครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 1 เครื่อง                  เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าจัดซื้อ แผ่นตรวจ+เข็ม วัดระดับน้ำตาลในเลือด                    เป็นเงิน 1,000 บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าปริ้นรูป )                                          เป็นเงิน 500 บาท

        รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,350 บาท (เงินหนึ่งหมื่นห้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2568 ถึง 22 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคติดต่อเรื่อรังได้
2.สามารถพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง มีความรู้และทัศนคติ ที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฎิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม


>