กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กเป็นบุคลากรที่สำคัญและเป็นกำลังของชาติ หากเด็กในวันนี้มีปัญหาด้านสุขภาพเจ็บป่วยบ่อย อนาคตของชาติก็จะอ่อนแอและมีปัญหาตามมาได้ ดังนั้นการทำให้เด็กมีสุขภาพดี ร่างกาย จิตใจ และสมองได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม โดยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคภัยต่างๆที่อ

 

100.00

เด็กเป็นบุคลากรที่สำคัญและเป็นกำลังของชาติ หากเด็กในวันนี้มีปัญหาด้านสุขภาพเจ็บป่วยบ่อย อนาคตของชาติก็จะอ่อนแอและมีปัญหาตามมาได้ ดังนั้นการทำให้เด็กมีสุขภาพดี ร่างกาย จิตใจ และสมองได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม โดยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เด็กเล็ก เป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจ่ายและติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กป่วย เด็กเล็กเป็นช่วงอายุที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของร่างกาย จิตใจและสมอง นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ส่งผลให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่ายและพบได้บ่อย โดยเฉพาะโรคหวัด อุจจาระร่วง มือ เท้า ปาก คางทูม อีสุกอีใส และหัด ซึ่งการเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้เช่นกัน
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโดเล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการที่สมวัย ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการดูแลและเฝ้าระวัง สุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  1. ร้อยละ 100 เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโดได้รับการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสุขภาพ
100.00 0.00
2 2. เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ และให้ความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  1. ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ และให้ความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
85.00 0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลตนเองที่จำเป็นสำหรับเด็ก
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโดไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 มีทักษะ และความรู้ สามารถปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็ก
85.00 0.00
4 4. เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค
  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโดมีสถาพแวดล้อมที่ดีและเป็นสถานที่ปลอดโรค ร้อยละ 90
90.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 75
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน 1. ศึกษา รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ของโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด 2. กิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโดให้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก เช่น โรคตาแดง,อีสุอีไส,มือเท้าปาก,ไข้หวัด เป็นต้น 3. กิจกรรมตรวจและคัดกรองด้านสุขภาพเด็กปฐมวัย 3.1 การป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก แก่เด็กปฐมวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.2 การป้องกันและควบคุมโรคทั่วไป 4. การดูแลรักษาและปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อเด็กเจ็บป่วย 5. กิจกรรม Big cleaning day งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 18,650.- บาท รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน800 บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 5. ค่าแผ่นพับสี จำนวน 200 แผ่น ๆ ละ 15 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท 6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
6.1 แอลกอฮอล์ ขนาด 500 มล.เป็นเงิน850 บาท จำนวน 10 ขวด ๆ ละ 85 บาท
6.2 หนังสือนิทานเล่มเล็ก เกี่ยวกับการป้องกันโรค เป็นเงิน 3,100 บาท จำนวน 155 ชิ้น ๆ ละ 20 บาท 6.3 น้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด 500 มล. เป็นเงิน 1,400 บาท จำนวน 4 ขวด ๆ ละ 350 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,650 บาท (เงินหนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ : รายการใดไม่พอจ่ายให้ถัวเฉลี่ยจากรายการอื่นได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ส่งเสริมการดูแลและเฝ้าระวัง สุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ และให้ความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3. ส่งเสริมทักษะการดูแลตนเองที่จำเป็นสำหรับเด็ก
4. สามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค


>