2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ "สังคมสูงวัย" (aged society) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 กล่าวคือ มีประชากรสูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ10 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศเมื่อสิ้นปี พ.ศ.2558 ที่ผ่านมาและในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ในปี พ.ศ.2565 กลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” ( Complete aged society ) ประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุส่วนใหญ่พบว่า เป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่เพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือด อุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และหากผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยใช้ท้องถิ่นและชุมชนเป็นฐานในการจัดการดูแล ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลบ่อทอง
ปี พ.ศ.2566 ตำบลบ่อทองมีประชากรทั้งทั้งหมด 16,193 คน พบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 1,692 คน คิดเป็นร้อยละ 10.45 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง จากการสำรวจลงเยี่ยมบ้านของทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนท์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา เพื่อประเมินความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่า ผู้ที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน (กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 38 คน ซึ่งมีอายุน้อยกว่า 60 ปี จำนวน 9 คนพบปัญหาด้านการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดกำลังใจ มีภาวะเครียด ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว ทำให้มีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และจากสถิติผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องดูแลแบบประคับประคองในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรค ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆซึ่งต้องได้รับการดูแลแบบองค์รวม และต้องอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ในระยะท้ายของชีวิต เพื่อเพิ่มคุณค่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเป็นการช่วยผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้มองเห็นและตระหนักถึงสภาพปัญหาดังกล่าว ช่วยเหลือ จึงจัดทำโครงการดูแล ฟื้นฟู และจัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน,ติดเตียง และผู้พิการ ในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง เพื่อคลายทุกข์ให้แก่ประชาชนตามความเหมาะสม ให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น เพื่อเยียวยาช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนดูแล ฟื้นฟู และจัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน,ติดเตียง และผู้พิการ ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียง มีวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถดูแลรักษา
2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน,ติดเตียง และผู้พิการ ในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ใช้อำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ
2. ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน,ติดเตียง และผู้พิการ ในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น