กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ชมรมผู้สูงอายุตำบลตลิ่งชัน

1.นายเขียน ชูเขียว ประธาน
2.นางพรเพ็ญ ขวัญทองยิ้ม กรรมการ
3.นายเจะอาเรน บินหมัด กรรมการ
4.นางสาวนูรูลฮูดาหัดเหาะ กรรมการ
5.นางสาวฮัลวา กาเหร็มกา กรรมการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตลิ่งชัน หมู่ที่ 2 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

52.59
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุและนำไปปฏิบัติเองที่บ้าน

 

51.78

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตในปัจจุบัน ที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่เพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และปัญหาต่างๆ ที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฎีการแพทย์แผนไทยที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกาย การนวด และประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
ทั้งนี้ ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลตลิ่งชัน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ และการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย มาส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลในพื้นที่ได้รบความรู้ และฝึกทักษะต่างๆ ด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อนำไปดูแลสุขภาพตนเอง และผู้อื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง

ร้อยละของกลุ่มผู้สูงอายุใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง

52.59 70.25
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุและนำไปปฏิบัติเองที่บ้าน

ร้อยละของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

51.78 72.34

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อร่วมวางแผนการทำงาน และดำเนินกิจกรรมร่วมกัน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 คนๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 175 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 1 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานดำเนินโครงการ เข้าใจแผนการดำเนินงาน และได้ทราบแผนการดำเนินงานร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
175.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โดยชมรมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โดยชมรมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านโซเชียลมีเดีย โดยชมรมผู้สูงอายุ

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยวิถีแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฎิบัติการ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยวิถีแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทยโดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุตามศาสตร์แพทย์แผนไทย

ช่วงเช้า : กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้สูงอายุตามศาสตร์แพทย์แผนไทย

ช่วงบ่าย : กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการปฏิบัติการออกกำลังท่ากายบริหารฤๅษีดัด ท่ากายบริหารด้วยมณีเวช และการออกกำลังกายแบบจิตประสานกายด้วยเทคนิคสมาธิบำบัด (SKT) ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท (ภาคเช้า) เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท (ภาคบ่าย) เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 50 คนๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 540 บาท
  • แผ่นพับสื่อให้ความรู้ ขนาด A4 จำนวน 50 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ประกอบด้วย
  1. ปากกา จำนวน 50 ด้ามๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  2. สมุด จำนวน 50 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  3. กระเป๋าผ้า จำนวน 50 ใบๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 1 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์ของการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนไทย และการออกกำลังกาย และท่ากายบริหารตามศาสตร์แพทย์แผนไทย
  2. ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพดีวิถีไทย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15640.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินการให้การทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการสาธิต สอนวิธีการทำ วิธีการใช้และสรรรพคุณของลูกประคบสมุนไพ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการให้การทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการสาธิต สอนวิธีการทำ วิธีการใช้และสรรรพคุณของลูกประคบสมุนไพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำแผนการให้บริการการดูแลสุขภาพโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการสาธิต และสอนวิธีการทำลูกประคบสมุนไพรในผู้สูงอายุ

  • จัดทำแผนการให้บริการการดูแลสุขภาพโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแพทย์แผนไทย โดยการสาธิต และสอนวิธีการทำลูกประคบสมุนไพรในผู้สูงอายุ

งบประมาณ

  • ไพล จำนวน 3 กิโลกรัมๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน 480บาท
  • ขมิ้นชัน จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 180 บาท เป็นเงิน 180 บาท
  • ตะไคร้ จำนวน 1.5 กิโลกรัมๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 75 บาท
  • ผิวมะกรูด จำนวน 1.5 กิโลกรัมๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 210 บาท
  • ใบมะขาม จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 100 บาท
  • ใบส้มป่อย จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 140 บาท
  • เกลือแกง จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 30 บาท
  • การบูร จำนวน 300 กรัม เป็นเงิน 210 บาท
  • พิมเสน จำนวน 300 กรัม เป็นเงิน 390 บาท
  • ผ้าดิบ จำนวน 13 หลาๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 585 บาท
  • เชือก จำนวน 2 ม้วนๆ ละ 155 บาท เป็นเงิน 310 บาท
  • ถุงลูกประคบ จำนวน 2 แพค ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 160 บาท
  • กะละมัง จำนวน 5 อันๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 125 บาท
  • จวักตักสมุนไพร จำนวน 5 ด้ามๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท
  • สติกเกอร์ จำนวน 3 แผ่นๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 3 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพดีวิถีไทย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3335.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผู้สูงอายุที่ได้รับการทำกิจกรรมการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนไทย และวิธีการทำลูกประคบสมุนไพรโดยการประเมินผู้เข้าร่วมจากการปฏิบัติและตอบคำถามในการเข้าร่วมโครงการ

งบประมาณ

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 1 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพดีวิถีไทย
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจประโยชน์ของการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนไทยและการออกกำลังกายและท่ากายบริหารตามศาสตร์แพทย์แผนไทย
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน

งบประมาณ

  • ค่าเล่มรายงาน จำนวน 1 เล่มๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,450.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจประโยชน์ของการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนไทยและการออกกำลังกาย และท่ากายบริหารตามศาสตร์แพทย์แผนไทย
- ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการบริหารอวัยวะในร่างกาย เพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงานได้
- ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์ของลูกประคบสมุนไพร


>