แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150
อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนช่วงวัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็น “หน้าต่างแห่ง โอกาสของชีวิต” ที่สมองจะเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การลงทุนพัฒนาเด็ก ปฐมวัยจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าถึง 7 เท่าในวันที่เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้อง พัฒนาทั้งความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทาง อารมณ์ ตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ซึ่งจะทำให้เด็กมีพื้นฐานของ สติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีติดตัวไปตลอดชีวิต พัฒนาการเด็กปฐมวัย คือ ระดับความสามารถของเด็กเมื่อเทียบกับเด็กวัย เดียวกัน การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อน 6 ขวบปีแรก ของชีวิต จะเป็นการส่งเสริมระดับสติปัญญา ช่วยให้เด็กมีความพร้อมต่อการเรียนรู้ใน ช่วงวัยต่อๆไป เพื่อส่งเสริม ให้พ่อแม่ผู้ปกครองเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยตนเอง ซึ่งปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก แต่ด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ปัจจุบันที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้านทำให้มีเวลาในการดูแลเด็กน้อยลง การพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเสริมพลังพ่อแม่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและ ความฉลาดทางอารมณ์จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแก้ปัญหานี้ กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัว มีส่วนร่วม โดยใช้ข้อคำถามพัฒนาการในคู่มือ DSPM มาปรับเป็นแนวปฏิบัติในการกอด เล่าเล่น เต้น วาดสร้างสมาธิกับเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยผสมผสานไปกับ การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ผ่านการสร้างวินัยเชิงบวก โดยพ่อแม่ผู้ปกครองเป็น ผู้พัฒนาเด็กด้วยตนเอง และมีบุคลากรสาธารณสุข ครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมถึง ครูเป็นผู้จัดกลุ่มกิจกรรมเสริมพลังการเรียนรู้สำหรับครอบครัวเด็กปฐมวัย ช่วยให้ผู้ปกครองนำกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์กลับไป ใช้ที่บ้านได้ทำให้ได้เด็กที่เก่งดีมีความสุขดังที่ครอบครัวและสังคมตั้งใจ พร้อมจะเป็น ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศไทยต่อไป
-
1. 1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยผ่านการ ฝึกทักษะการเลี้ยงดูสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยผ่านการ ฝึกทักษะการเลี้ยงดูสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. 2. เพื่อเสริมพลังพ่อแม่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผ่านการฝึกปฏิบัติและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ นำไปสู่ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ในมิติการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 เสริมพลังพ่อแม่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผ่านการฝึกปฏิบัติและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ นำไปสู่ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ในมิติการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. 3. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเลี้ยงดูเด็กเพื่อการส่งเสริม พัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ลดความรุนแรงในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวตัวชี้วัด : 3. ร้อยละ 100 ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเลี้ยงดูเด็กเพื่อการส่งเสริม พัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ลดความรุนแรงในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. กิจกรรมสร้างวินัยเชิงบวกรายละเอียด
วิธีดำเนินการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำโครงการ 2. จัดเตรียมข้อมูล/สถานที่/ความพร้อม 3. แจ้งแผนการปฏิบัติงานตามโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ 6. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม เป็นกิจกรรมกลุ่มในผู้ปกครองและเด็กที่มีช่วงอายุ 2 ปี 6 เดือน - 6 ปีจำนวน 10-15 ครอบครัว ไม่จำกัดว่าเป็นเด็กปกติหรือกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม ทั้งหมด 4 ครั้ง ครั้งละ 1:30 ชั่วโมง
กิจกรรมครั้งที่ 1 สร้างสายใย
- กอดสร้างสุข
- นิทานสร้างสรรค์
- วาดภาพสร้างจินตนาการ
- เล่น/เต้นสร้างความสนุก
- สมาธิสร้างความสบาย
กิจกรรมครั้งที่ 2 สร้างวินัย
- กอดสร้างสุข
- นิทานสร้างวินัย
- ศิลปะสร้างจินตนาการ
- เล่น/เต้นสร้างความสนุก
- สมาธิสร้างความสบาย
กิจกรรมครั้งที่ 3 สร้างเด็กเก่ง 1
- กอดสร้างสุข
- ชมสร้างความภูมิใจ
- สร้างเด็กเก่ง
- เล่น/เต้นสร้างความสุข
- สมาธิสร้างความสบาย
กิจกรรมครั้งที่ 4 สร้างเด็กเก่ง 2
- กอดสร้างสุข ชมสร้างความภูมิใจ
- หิว เหนื่อย ร้อน หนาว ป่วย
- หนึ่งภาพ สิบชิ้น - สัตว์เสื้อผ้า อาหาร ผลไม้ของใช้
- เล่น/เต้นสร้างความสุข – สมาธิสร้างความสบาย 5. ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือน1 พฤษภาคม –30 กันยายน 2568- สถานที่ดำเนินการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 31,000.- บาท รายละเอียดดังนี้
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- อุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการและสน้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย จำนวน3 ชุดๆ ละ 6,900 บาท เป็นเงิน 20,700 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น31,000 บาท (เงินสามหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) หมายเหตุ : รายการใดไม่พอจ่ายให้ถัวเฉลี่ยจากรายการอื่นได้
งบประมาณ 31,000.00 บาท - สถานที่ดำเนินการ
ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด
รวมงบประมาณโครงการ 31,000.00 บาท
- เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยผ่านการ ฝึกทักษะการเลี้ยงดูสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
- เพื่อเสริมพลังพ่อแม่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผ่านการฝึกปฏิบัติและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ นำไปสู่ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ในมิติการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
- เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเลี้ยงดูเด็กเพื่อการส่งเสริม พัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ลดความรุนแรงในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัว
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150
อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150
อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................