กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีใส่ใจสุขภาพป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

60.00

มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีพบว่าอัตราการเกิดมะเร็งทั้งสองชนิดยังคงอยู่ในระดับสูง และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้หญิงเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ หากมีการตรวจคัดกรองและดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม สามารถช่วยให้พบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ได้ผลดีขึ้น การขาดความรู้ ความเข้าใจ และการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มะเร็งทั้งสองชนิดถูกตรวจพบในระยะลุกลาม การรู้ทันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมจึงมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนัก ส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ารับการตรวจคัดกรอง และให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางป้องกันและดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เพราะโรคมะเร็งทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรี โรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิดนอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ HPV DNA Self Test ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ มีพื้นที่เขตรับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ 1. หมู่ที่ 6 บ้านบาตาปาเซ , 2.หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง, 3.หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ, 4. หมู่ที่ 11 บ้านกำปงบารูและ 5. หมู่ที่12 บ้านบูเกะกือจิ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดโดยดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี ค้นหามะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30 – 70 ปี ในระยะเริ่มแรก เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ โดยปี 2565-2569 มีกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30 – 60 ปี ที่จะต้องได้รับการคัดกรองทั้งหมด656 คน (เป็นผลงานสะสม 5 ปี) และตั้งแต่ปี 2565-2567 ได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก กลุ่มป้าหมาย 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองสะสม 3 ปี (2567) จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 10.37 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด และในปีงบประมาณ 2567 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย 30-70 ปี จำนวน 1,136 ราย ได้รับการคัดกรองด้วยตนเองหรือเจ้าหน้าที่จำนวน 530 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.65 จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขแบบเร่งด่วน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน ปีแนมูดอ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง และสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรอง และสามารถลดอัตราการเกิดและเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะยาว จึงได้ทำโครงการสตรีใส่ใจสุขภาพป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และสตรีอายุ 30-60 ปีมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
  • สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
  • สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม
60.00 60.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการฝึกทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างถูกวิธีและได้รับการตรวจซ้ำด้วยบุคคลากรทางการแพทย์
  • สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างถูกวิธี
60.00 60.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง (HPV SELF TEST)
  • สตรีอายุ 30-60 ปี ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง (HPV SELF TEST)
60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สตรีวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60 ปี 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยตรวจด้วยตนเอง (HPV DNA SELF TEST) ในสตรีอายุ 30-60 ปี และมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยตรวจด้วยตนเอง (HPV DNA SELF TEST) ในสตรีอายุ 30-60 ปี และมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายสตรีไทยอายุระหว่าง 30-70 ปี เรื่อง รู้เท่าทันโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
- ค่าอาหารกลางวัน 60 คน * 1 มื้อๆละ 60.- บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน * 2 มื้อๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600.-บาท * 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600.- บาท - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5x2 เมตรเป็นเงิน750.- บาท - ค่าวัสดุประกอบการอบรม จำนวน 60 ชุด ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 6,000.- บาท รวมเป็นเงิน 16,950 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,950.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นหกพันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยในการเบิกจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรีกลุ่มเป้าอายุ 30-60 ปี ได้รับคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Self Test 2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30 – 70 ปี 3. สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการคัดกรองความผิดปกติ และได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 4. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ระยะลุกลาม และลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากเต้านม
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Self Test
4. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ถูกวิธึ


>