กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในหมู่บ้านไอร์กูเล็ง ปี2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนหมู่ที่ 13 บ้านไอกูเล็ง

1.นางสาวฟาตีมา เจ๊ะเต๊ะ
2.นางสาวนาบีละห์ ดอเลาะ
3.นางสาวยาวารี มามะ
4.นางสาวฮาซีมะห์ มามะ
5.นางสาวซาอีด๊ะ กาเจ

มัสยิดดารุลฮิกมะห์ม.13 ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การทำงานเร่งรีบ ทำให้มีการบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ละเลยการออกกำลังกาย ความเครียดร่วมด้วย ซึ่งทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง จึงต้องทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น การรับประทานอาหารตามโภชนาการ การจัดกิจกรรมที่เหมาะสม จากการดำเนินการของ รพ.สต.บ้านไอสะเตียในปีงบประมาณ 2568 พบว่า มีกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านไอสะเตีย จำนวน 1734 ราย คัดกรองทั้งหมดจำนวน 397 ราย ประชากรในหมู่บ้านไอร์กูเล็ง ม.13 พบกลุ่มเสี่ยง จำนวน 45 ราย กลุ่มเสี่ยงกลาง 19 ราย กลุ่มเสี่ยงสูง 26 รายศสมช. ม.13 เห็นความสำคัญในการป้องกันของการเกิดโรคดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งเมื่อเกิดความตระหนักทางสุขภาพแล้วจะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน และลดภาวะความเจ็บป่วย.
ดังนั้นทางศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนเห็นความสำคัญในการป้องกันการเกิดโรค จึงจัดทำโครงการเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชุมชนบ้านไอกูเล็งนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 80คนๆละ2มื้อๆละ25บาท รวมเป็นเงิน 4000 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 60 บาทรวมเป็นเงิน 4800 บาท

3.ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1*3 เมตร รวมเป็นเงิน 750 บาท

4.ค่าตอบแทนวิทยากร คนละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3600 บาท

5.ค่าวัสดุสำนักงาน

  • ปากกา 80 ด้ามๆละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 800 บาท

  • สมุด 80 เล่มๆละ20 บาท รวมเป็นเงิน 1,600 บาท

  • กระเป๋า 80 ใบๆละ 80 บาท รวมเป็นเงิน6,400 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง

2.ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวััน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.) มีความรู้ความเข้าใจโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้อย่างถูกต้อง
2.ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง


>