กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงตั้งครรภ์ลดความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ลูกน้อยน้ำหนักตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้ในการดุแลสุขภาพตนเองระหว่างตั้งครรภ์

 

70.00

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง การพัฒนาคุณภาพประชาชนเริ่มตันแต่การดูแลก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตามนโยบายที่ว่า ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย การดูเริ่มตั้งแต่ในช่วงหญิงวัยเจริญพันธ์ดูแลสุขภาพ วางแผนการมีบุตรตั้งแต่เริ่มแรก โดยได้รับการดูแลให้ทานยา Folic acid ยาวิตามินชนิดนี้ อาจช่วยป้องกันการแท้งบุตร ความพิการแต่กำเนิดเกี่ยวกับสมอง และกระดูกสันหลังของทารก ที่ผ่านมาพบปัญหาความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ ด้วยโรค HT DM Heart Thyroid SLE หอบ ภาวะซีด ตกเลือดหลังคลอด ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งจะส่งพลต่อพัฒนาการ ภาวะทุพโภชนการและสติปัญญา การดูแลอย่างมีคุณภาพช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งมารดา และทารกได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ มีพื้นที่เขตรับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.หมู่ที่ 6 บ้านบาตาปาเซ, 2.หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง, 3.หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ, 4.หมู่ที่ 11 บ้านกำปงบารู และ 5.หมู่ที่12 บ้านบูเกะกือจิ ปี 2567 มีหญิงตังครรภ์ทั้หมด 62 ราย มีความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ต้องส่งต่อโรงพยาบาลเจาะไอร้อง 24 ราย คิดเป็น 35.82% หญิงไทยคลอดทารกก่อนกำหนดในอำเภอเจาะไอร้อง ทั้งหมด 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.73 และเด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยอำเภอเจาะไอร้อง ร้อยละ 9.24 โรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ จำนวนทารกแรกเกิด 42 ราย น้ำหนักตัวน้อยน้อย 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.14 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านปีแนมูดอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพของหญิงก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดและสุขภาพทารกแรก เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ดูแลตัวเองบุตรในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการหญิงตั้งครรภ์ลดความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ลูกน้อยน้ำหนักตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการลดภาวะเสี่ยง ขณะตั้งครรภ์ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง

-หญิงตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับลดความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง

70.00 70.00
2 เพื่อลดอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย กว่า 2,500 กรัม
  • ลดอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย กว่า 2,500 กรัม
70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง หญิงตั้งครรภ์ลดความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ลูกน้อยน้ำหนักตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง หญิงตั้งครรภ์ลดความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ลูกน้อยน้ำหนักตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต จำนวน 19,050.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นเก้าพันห้าสบบาทถ้วน)
- ค่าอาหารกลางวัน 70 คน * 1 มื้อๆละ 60.-บาท เป็นเงิน 4,200 .- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม70 คน * 2 มื้อๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 3,500.- บาท - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600.-บาท * 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600.- บาท - ค่าวัสดุในการฝึกอบรมจำนวน 70 ชุด ชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 7,000.- บาท - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5*2 เมตร เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงิน 19,050 บาท หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยในการเบิกจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์ และ หลังคลอด มีความเสี่ยงลดลง 2.ทารกแรกเกิด มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ และ หลังคลอด มีความเสี่ยงลดลง
2.ทารกแรกเกิด มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมลดลง


>