2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสุขภาพก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกายได้มากกว่าโรคอื่น ๆและเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากตัวผู้ป่วยจะต้องมีการควบคุมภาวะของโรคไม่ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือในการดูแลรักษาร่วมกัน จากทั้งตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับการแพทย์ ตลอดจนญาติพี่น้องในครอบครัวและสังคมว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร ตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน หรือทำให้ภาวการณ์เกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เกิดขึ้นได้ช้าลง
จากการตรวจสุขภาพประจำปี ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่เขตรับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.หมู่ที่ 6 บ้านบาตาปาเซ, 2.หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง, 3.หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ, 4.หมู่ที่ 11 บ้านกำปงบารู และ 5.หมู่ที่12 บ้านบูเกะกือจิในปี 2567 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 540 คน พบว่า ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีจำนวน 388 คน ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี จำนวน 324 คน คิดเป็นร้อยละ 60 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 196 คน พบว่า ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 126 คน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 12.76 ทั้งนี้จากการติดตามกลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเอง เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการใช้ยาอย่างต่อเนื่องซึ่งปัญหานี้เกิดจากการขาดทักษะในการเข้าถึงและประเมินข้อมูลสุขภาพอย่างเหมาะสม หรือเรียกว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเน้นการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาความรอบรู้ ด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นการดำเนินโครงการนี้ จึ่งมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพื่อสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้นและลดภาระต่อระบบสุขภาพในระยะยาว
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 10/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ
2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน