กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงเจริญพันธ์สุขภาพดี และหญิงตั้งครรภ์ หมู่ 3 บ้านควนหยี ตำบลปะโด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

อาสาสมัครสาธารณสึขประจำหมู่ 3 บ้านควนหยี

อาสาสมัครสาธารณสึขประจำหมู่ 3 บ้านควนหยี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น อายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกัน ให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัยที่นานาชาติต้องการบรรลุให้ได้ ภายในปี พ.ศ. 2573 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบเชิงลบทางสุขภาพต่อตัวแม่วัยรุ่นและทารก เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า เช่น การเสียชีวิตของมารดา การเสียชีวิตของทารก ทารกน้าหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยสถิติพบว่าในปี 2555 เด็กแรกเกิดน้ำหนัก ต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า 2,500 กรัม ) ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นอายุ 15 ปี และ 15-19 ปี มีถึงร้อยละ 18.2 และ 13.7 ตามลำดับ (ไม่เกินร้อยละ 7) ยิ่งไปกว่านั้น แม่วัยรุ่นยังมีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ยังส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต ความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตรของแม่วัยรุ่นยังทำให้เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กไทย ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยตัดวงจรการเป็นแม่วัยรุ่น ไม่ให้เกิดขึ้นกับประชากรรุ่นต่อๆไป ทำให้วัยรุ่นมีสุขภาวะทางเพศที่ดี มีโอกาสทางการศึกษา และสามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะเติบโตมีคุณภาพต่อไป กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านควนหยี จึงได้จัดทำ โครงการหญิงเจริญพันธ์สุขภาพดี และหญิงตั้งครรภ์ หมู่ 3 บ้านบูควนหยี ตำบลปะโด ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิต ให้กับวัยรุ่น ก้าวพ้นสิ่งยั่วยุต่างๆไปได้อย่างปลอดภัย สามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น ข้อที่ 2.เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ร้อยละ 20 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น (อายุน้อยกว่า 20 ปี)
2.ร้อยละ 20 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมหญิงเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมหญิงเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดอบรมหญิงเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์        ค่าอาหารและอาหารว่างในการจัดอบรมหญิงเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คน       -ค่าอาหารกลางวัน 60 บาทต่อ 1 มื้อต่อวัน จำนวน 60 คน 3,600  บาท       -ค่าอาหารว่าง 30 บาทต่อมื้อ 2 มื้อต่อวัน จำนวน 60 คน 3,600 บาท      ค่าวัสดุสำนักงาน
      -ปากกาลูกลื่น จำนวน 60 ด้าม ราคาด้ามละ 10 บาท  600 บาท
      -สมุดปกอ่อนขนาด 60 แกรมจำนวน 60 เล่มราคาเล่มละ 15 บาท  900 บาท       -แฟ้มซองพลาสติกA4 1กระดุม  จำนวน 60 แฟ้มราคาแฟ้มละ 30 บาท   1,800 บาท       -ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 คน 1,800 บาท       -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 200*150 cm  1 ผืน  1,000 บาท รวม 13,300  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง เพื่อสุขภาพดี ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม
2. อัตราเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ลดลง
3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและตรวจรักษาที่ถูกต้อง
4. ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกกลุ่มในตำบลกาตองมีความรู้ในการป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัว
5. เกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมรณรงค์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มวัยเจริญพันธ์


>