กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไอสะเตีย

เขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไอสะเตีย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์เป็นระยะที่มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆเกิดขึ้นมากว่าปกติ เพราะอัตราการเติบโตของทารกในครรภ์สูงกว่าระยะอื่นๆของชีวิต ความต้องการสารอาหารและพลังงานระหว่างตั้งครรภ์จึงมีมากกว่าระยะอื่นๆถ้ามารดาได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในปริมาณที่เพียงพอ มารดาจะมีสุขภาพสมบูรณ์และให้กำเนิดทารกที่แข็งแรงการ ฝากครรภ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์มีเข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน
จากสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านไอสะเตียในปีงบประมาณ ๒๕67 มีหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 64 คนฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 50มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 ทารกที่คลอดทั้งหมดมีจำนวน 60 คน มีทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม มีจำนวน 8 คน คิดเป็น ร้อยละ 13.3 ปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึง คุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กหลังคลอด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพและคลอดบุตรที่มีคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านไอสะเตียจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะโภชนาการที่ดี มีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อันจะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัยซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์

ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์

0.00
2 เพื่อส่งเสริมทารกแรกเด็กมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

ร้อยละ 90 ของทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า2500 กรัม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าไวนิลรณรงค์โครงการขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท

2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 50 คน คนละ2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน คนละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

4.ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

5.ค่าวัสดุประกอบการอบรม

  • ปากกา 50 ด้าม x 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  • สมุด 50 เล่มx 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • กระเป๋า 50 ใบ x 80 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง

2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามหญิงตั้งครรภ์การดูแลตัวเองที่บานและให้ฝากครรถืตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามหญิงตั้งครรภ์การดูแลตัวเองที่บานและให้ฝากครรถืตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามโดยการโทรศัพท์ไปหาหญิงตั้งครรภ์ ก่อนถึงวันนัด

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ ครบตามเกณฑ์
2.ทารกแรกเด็ก มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม


>