แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวัง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคไม่ติดต่อชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8
1.นางศุภวรรณ์บุญละเอียด
2.นางนฤมลปี่แก้ว
3.นางชะอ้อน บางพงศ์
4.นางนงนุช เพ็งภัตรา
5.นางละเอียดจันแสง
หมู่ที่ 8 เขตเทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก ๓อ.๒ส. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน
สภาพปัญหา : อุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มเพื่มขึ้น โดยมีปัจจัยเชิงบวกด้านพฤติกรรมในประชากรที่ดีขึ้นทั้งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น คือ ความชุกของการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่คุกคามสุขภาพคือการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพออาจกล่าวได้ว่าการลดลงของอุบัติการณ์เบาหวาน และภาวะความดันโลหิตสูง เป็นผลจากมาตรการการควบคุม ป้องกันโรคและปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในบางช่วงเวลาความชุกของปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลประชากรของชุมชนบ้านโคกกอ ปี 2567พบว่ามีประชากรทั้งสิ้นที่อายุ 35 ขึ้นไปมี จำนวน 446คน ส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยทำงานวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของบ้านโคกกอ พบว่า ประชากรในบ้านโคกกอเป็นกลุ่มเสียงและเสียงสูงมาตั้งแต่ปี 2567เป็นจำนวนกลุ่มเสียงความดันโลหิตสูงจำนวน68 คน และกลุ่ม
เสียงเบาหวานจำนวน43 คน จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีแนวทางการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหา เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ป้องกันไม่ให้ป่วยสามารถเข้าถึงที่ตั้งจุดคัดกรองประจำหมู่บ้านทุกๆสัปดาห์ของวันพฤหัสบดีทางด้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ประชาชนมีความฉลาดรอบรู้ในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
2.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานน้อยลง
3.เพื่อกลุ่มเสียงและกลุ่มเสียงสูงสามารถควบคุมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ห่างโรคไม่ติดต่อ
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/04/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประขาขนได้ความรู้ใหม่ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2. ประชาชนได้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักอนามัย และ ห่างไกลโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้เอง
3. เกิดมาตรการทางชุมชนในการดูแลสุขภาพจะมีจัดงานเลี้ยงต่างๆชุมชนจะ ไม่มีน้ำหวาน ไม่มีการแพคข้าวใส่ถุงพาสติก