กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ตำบลปานัน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปานัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปานัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
หลักการเหตุผล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง
ปัจจุบันระบบสุขภาพไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุการเปลี่ยนจากสังคมชนบทสู่สังคมเมืองตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประชาชนมีความคาดหวังต่อคุณภาพของระบบบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพในภาคประชาชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้มีกำลังคนด้านสุขภาพในชุมชนที่มีศักยภาพและเป็นแกนหลักในการดูแลและจัดการด้านสุขภาพของประชาชน ประกอบกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases : NCDs) มากขึ้น รวมถึง มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้น เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพมุ่งหวังให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง (Self Care) ให้ประชาชนได้เลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่ใช้ประพฤติปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยกันเอง ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ระวังรักษาร่างกายให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค ภัย อันตรายที่อาจจะทำให้บาดเจ็บ ป่วย เสี่ยงหรือพิการ การดูแลจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสโดยการใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคโนโลยีและทรัพยากรพื้นฐานในครอบครัว ชุมชนและสังคม ดังนั้นในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนเพื่อประชาชนสุขภาพดี จึงต้องขยายเครือข่ายการสร้างความรู้ให้ประชาชนจากชุมชนไปสู่ถึงครัวเรือนด้วยการกำหนดให้ตัวแทนประชาชนในครัวเรือนด้วยการให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลมาเข้ารับการอบรมหรือเรียนรู้ร่วมกับญาติที่ป่วยว่าควรจะดูแลอย่างไรและจะทำอย่างไรให้คนในครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อเสริสร้างศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการให้ประชาชนดำเนินการตามหน้าที่ของพลเมืองในการมีความรู้ ความเข้าใจและประพฤติปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างรับผิดชอบด้วยความรู้สึกว่า “สุขภาพเป็นของเรา” ในทุกครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพจาก รพ.สต. สู่ชุมชน ตลอดจนครอบครัวและบุคคล ข้อที่ 2.เพื่อให้ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ข้อที่ 3.เพื่อให้บุคคลในแต่ละครอบครัวได้ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ข้อที่ 4.เพื่อให้แต่ละครอบครัวมีผู้ดูแลอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้ดูแลสุขภาพ ประสานและเชื่อโยงแก่ อสม. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ข้อที่ 5.เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึงพิง ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ โดย อสม.ที่รับผิดชอบและ ตัวแทนประจำครอบครัวในการดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว
2. ตัวแทนประจำครอบครัว สามารถดูแลสุขภาพครอบครัวเบื้องต้น 3. บุคคลในครอบครัวได้ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพครอบครัวตนเอง สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว 4. มีตัวแทนประจำครอบครัว สามารถประสานงานกับ อสม.และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ได้ สำหรับครัวเรือนที่มีภาวะพึงพิง ร้อยละ 100 5.ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึงพิง ผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลโดยตัวแทนประจำครอบครัวทุกคน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ตำบลปานัน ปี2568 จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ตำบลปานัน ปี2568 จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย
ค่าอาหารและอาหารว่างในการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ตำบลปานัน ปี2568 จำนวน 100 คน
   - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 1  วัน  จำนวน 100 คน       6,000  บาท    - ค่าอาหารว่าง 35 บาทต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อต่อวัน x 1 วัน จำนวน 100 คน  7,000  บาท ค่าวัสดุในการอบรม
   - ค่าป้านไวนิล  1.5 X 2 เมตร     900  บาท
   - สมุดปกอ่อน ขนาด 60 แกรม จำนวน 100 เล่ม ราคาเล่มละ 10 บาท  1,000 บาท    - ปากกาลูกลื่น จำนวน 100 ด้าม ราคาด้ามละ 10 บาท  1,000 บาท    - ปากกาเคมี ตราม้า จำนวน 10 ด้าม ราคาด้ามละ 15 บาท  150 บาท    - กระดาษสร้างแบบ  จำนวน  4 แผ่น  ราคาแผ่นละ 5 บาท  20 บาท    - กระดาษดับเบิล A4  จำนวน 1 รีม ราคารีมละ 130 บาท 130 บาท    - แฟ้มซองพลาสติก A4 1กระดุม  จำนวน 100 แฟ้ม ราคาแฟ้มละ 15 บาท 1,500 บาท    - ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง    3,600 บาท             รวม 21,300  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.มีตัวแทนประจำครอบครัว ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ครอบครัวละ 1 คน
2.ตัวแทนประจำครอบครัว มีศักยภาพและเชื่อมโยงการดูแลสุขภาพของบุคคลและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
3.มีตัวแทนประจำครอบครัว ที่เป็นผู้ดูแลสุขภาพ เชื่อมประสาน กับ อสม.ซึ่งเป็นแกนนำขับเคลื่อนการดูแลและจัดการสุขภาพของชุมชน


>