2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบัน “มะเร็งปากมดลูก” ภัยร้ายที่คุกคามสตรีทั่วโลก พบมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย แนะหมั่นใส่ใจสังเกตความผิดปกติและตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ชี้การติดเชื้อ Persistent HPV เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก 95 % ถ้าไม่ได้รับการรักษา
เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 นพ.สกานต์ บุญนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 4 ของผู้หญิงทั่วโลก และลำดับ 5 ของประเทศไทย สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 16, 18 และสายพันธุ์ความเสี่ยงสูงอื่น ๆ (Human papillomavirus หรือ HPV) เชื้อเอชพีวีเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่สามารถติดได้ทั้งที่ผิวหนัง อวัยวะเพศ ในช่องปาก และลำคอ โดยปกติผู้ที่มีเพศสัมพันธ์สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้แต่มักจะไม่แสดงอาการ ส่วนมากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราสามารถที่จะกำจัดเชื้อออกจากร่างกาย มีเพียงร้อยละ 5-10 เท่านั้นที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถกำจัดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ความเสี่ยงสูงออกไปได้ ทำให้การติดเชื้อคงอยู่นาน (persistent HPV) และสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์จนเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ซึ่งการติดเชื้อเอชพีวีในลักษณะคงอยู่นานหรือ Persistent HPV นี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา จะเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 95 % โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-20 ปี หลังการติดเชื้อจนกลายไปเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ถือเป็นโชคดีที่เราสามารถรู้ถึงสาเหตุที่ก่อมะเร็งปากมดลูก ทำให้เราสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการฉีดวัคซีน การตรวจคัดกรองและรักษาโรคตั้งแต่ระยะก่อนเป็นโรคมะเร็ง
สถานการณ์การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของ รพ.สต.ปานัน มีความลำบากในการที่จะชักชวนให้กลุ่มสตรีที่มีอายุ 30-60 ปี
มาตรวจคัดกรอง เนื่องจาก กลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจและมีความกลัว ผลการคัดกรองน้อย ส่งผลให้เกิดความไม่ตระหนักต่อการตรวจคัดกรอง ที่เป็นการคัดกรองเพื่อ เฝ้าระวังป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่เริ่มต้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวทาง อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำ รพ.สต.ปานัน
ซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนใกล้ชิดและใว้ใจ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อให้สตรี อายุ 30-60 ปี ตระหนักถึงความสำคัญ
ต่อการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและได้รับการคัดกรองเพิ่มมากขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการคัดกรองความผิดปกติ และได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
2.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ระยะลุกลาม และลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก