2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกนับเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบว่ามีการเกิดโรคขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝน ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะเสี่ยงในผู้ป่วยบางรายถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะในรายที่เป็นโรคไข้เลือดออก ที่มีการรั่วซึมของพลาสมา ในขณะป่วยที่เข้าสู่ระยะช็อก ดังนั้นโรคไข้เลือดออกจึงนับได้ว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ อีกทั้งเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคที่ป้องกันได้ด้วยตัวเอง สืบเนื่องจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2563 –ปี 2567) พบว่าอำเภอเจาะไอร้องมีอัตราป่วยที่เกินเกณฑ์ค่ามัธยฐาน (เกิน 50 ต่อแสนประชากร) และปี2567 อำเภอเจาะไอร้อง พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 306 คน คิดเป็นอัตราป่วย 742.32 ต่อแสนประชากร พบว่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงกำหนด และปี2567 พบผู้ป่วยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปีแนมูดอ พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 87 ราย (ผู้ป่วยยืนยัน,ผู้ป่วยเข้าข่าย,ผู้ป่วยสงสัย) โดยแยกเป็นผู้ป่วยยืนยัน 37 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 742.08 ต่อแสนประชากรได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านปาตาบาเซ 4 ราย หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง 13 ราย หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ 6 ราย หมู่ที่ 11 บ้านกำปงบารู 5 ราย และหมู่ที่ 12 บ้านบูเกะกือจิ 9 ราย ซึ่งสูงกว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงกำหนด และสามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก อาจจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น หากชุมชนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และโรคไข้เลือดออกมีการระบาดทุกๆปีในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการป่วยการตายจากโรคดังกล่าว จะต้องดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และจะต้องมีการพ่นเคมีเพื่อควบคุมโรคตามความเหมาะสมของพื้นที่
จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ มีพื้นที่เขตรับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.หมู่ที่ 6 บ้านบาตาปาเซ, 2.หมู่ที่ 7 บ้านบูเกะตาโมง, 3.หมู่ที่ 10 บ้านปีแนมูดอ, 4.หมู่ที่ 11 บ้านกำปงบารู และ 5.หมู่ที่12 บ้านบูเกะกือจิ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาจึงได้มีการจัดโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โดยต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายแกนนำอาสาพัฒนาสาธารณสุขแกนนำชุมชนโรงเรียน หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เป็นต้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และร่วมรณรงค์ป้องกัน ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้น และร่วมกันดูแลชุมชนให้สะอาด ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 10/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับ โรคไข้เลือดออก
2.ลดอัตราการเกิด โรคไข้เลือดออก ลดลง