กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านปีแนมูดอ

บ้านปีแนมูดอ หมู่ 10 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วยการใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์และสัตว์ แล้วยังไปทำลายอวัยวะในร่างกาย เช่น ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระแบบประสาท และตา ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายจะรับปริมาณสารเคมีมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจะทนได้ จึงแสดงอากาต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ตำบลบูกิต เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะหมู่บ้านปีแนมูดอในปี 2568 มีประชาการทั้งหมด 933 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 166 ครัวเรือน ประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเริ่มตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไปและทำการเกษตรจริงในพื้นที่ปัจจุบัน 150 คน ซึ่งมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำไร่ ทำสวน ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากสารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาไม่มีการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร และรวมทั้งการตรวจคัดกรองสารเคมีในเกษตรกรในหมู่บ้านปีแนมูดอ ดังนั้นชมรมอสม.บ้านปีแนมูดอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพประชาชนกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่ และสนับสนุนงานบริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชน(กลุ่มเกษตรกร)มีความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร

ประชาชน(กลุ่มเกษตรกร)มีความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร ร้อยละ 70

0.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้โครงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้โครงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้โครงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 60 บาท/มื้อ = 6,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ = 5,000 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท = 3,600 บาท

  • ค่าป้ายโครงการ 1.5 x 2 เมตร เมตรละ 250 บาท = 750 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการอบรม เช่น กระเป๋าเอกสาร กระดาษ ปากกา = 6,000 บาท

  • ค่าชุดตรวจสารเคมีในเกษตรกร = 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชน(กลุ่มเกษตรกร)มีความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชน(กลุ่มเกษตรกร)มีความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สารเคมีตกค้างในเกษตรกร


>