กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านปาตา ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงเรียนชุมชนบ้านปาตา

นางซูลยาณี สาและ
นางรอยยาน อาลี
นางสาวอาซีซะ สาเมาะ
นางมาศิตา อิบราฮิบ
นายพัทธพล สือมาแอ

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

 

20.00
2 ร้อยละของเด็ก 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

30.00
3 ร้อยละของเด็ก 6 - 14 ปี ที่ฐานะทางบ้านยากจน และขาดการดูแลจากครอบครัว

 

30.00

จากการสำรวจภาวะโภชนาการในนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านปาตา พบว่า เด็กจำนวนหนึ่งมีภาวะขาดสารอาหารหรือเสี่ยงขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และการเรียนนอกจากนี้ยังพบว่าเด็กบางคน มาโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า เนื่องจาก ไม่มี ผู้ปกครอง ดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น อยู่กับญาติผู้สูงอายุ หรืออาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ มื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญสำหรับการเริ่มต้นวันเรียน จึงจำเป็นต้องมีการเสริมอาหารมื้อเช้า ที่เหมาะสม ให้กับ นักเรียนกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ครู ผู้ปกครองและนักเรียนเพื่อสร้างวินัย การบริโภค ที่ดีในระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนชุมชนบ้านปาตา

ร้อยละการคัดกรองภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนชุมชนบ้านปาตา 100

50.00 100.00
2 เพื่อให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่เด็ก ผู้ปกครอง และครู

ร้อยละการให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่เด็ก ผู้ปกครอง และครู เพิ่มขึ้น 80.00

60.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมในโรงเรียนและครอบครัว

ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมในโรงเรียนและครอบครัว เพิ่มขึ้น 100

60.00 100.00
4 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ

ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 100

80.00 100.00
5 เพื่อเพิ่มภาวะสูงดีสมส่วนในเด็ก 6-14 ปี

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

20.00 80.00
6 ร้อยละของเด็ก 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

เด็ก 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการลดลง

30.00 5.00
7 ร้อยละของเด็ก 6 - 14 ปี ที่ฐานะทางบ้านยากจน และขาดการดูแลจากครอบครัว

เด็ก 6 - 14 ปี ที่ฐานะทางบ้านยากจน และขาดการดูแลจากครอบครัว ลดลง

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 290
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/11/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และคัดกรองภาวะโภชนาการของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และคัดกรองภาวะโภชนาการของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และคัดกรองภาวะโภชนาการของนักเรียน และเก็บข้อมูลภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ BMI-for-age เป็นต้น
งบประมาณ
1.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์การตรวจสุขภาพและสื่อการเรียนรู้
งบประมาณโดยประมาณ 1. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์การตรวจสุขภาพและสื่อการเรียนรู้ =5,000 บาท
- เครื่องชั่งน้ำหนัก 2 x 200 = 400 บาท
- ที่วัดส่วนสูง1 x 2,000 = 2,000 บาท
- วัสดุอุปกรณ์ = 2,600 บาท
2. ไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x2 ตร.ม. จำนวน 1 แผ่น = 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 พฤศจิกายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการครบ 100%
  2. นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำได้รับการดูแลและติดตามอย่างเหมาะสม
  3. ผู้ปกครองและครูมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 80%
  4. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กมีแนวโน้มดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ครูและผู้ปกครองนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ครูและผู้ปกครองนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 คณะครู และผู้ปกครองนักเรียน และมีการเรียนรู้ผ่านเกมและกิจกรรม กินเป็น เห็นผล ในระดับชั้นเรียน และร่วมพัฒนาเมนูอาหารกลางวันที่เหมาะสมร่วมกับครัวโรงเรียน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 290 คน* 25 บาท* 1 มื้อ  = 7,250 บาท
รวมเป็นเงิน 7,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 คณะครู และผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้เรื่องโภชนาการ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

กิจกรรมที่ 3 จัดมื้อเช้าสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โดยร่วมกับครัวโรงเรียนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดมื้อเช้าสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โดยร่วมกับครัวโรงเรียนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดให้มีมื้อเช้าสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โดยร่วมกับครัวโรงเรียนและชุมชน และมีการจัดเวรดูแลและให้คำปรึกษาด้านโภชนาการสำหรับเด็กที่รับประทานอาหารเช้าในโรงเรียน พร้อมติดตามผลสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคทุกๆ 2 เดือน
งบประมาณ
1.ค่าวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการจัดอาหารเช้า (สำหรับกลุ่มเสี่ยง 30 คน × 20 บาท × 60 วัน) = 36,000 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 36,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีภาวะโภชนาการที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36000.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลและจัดเวทีถอดบทเรียนร่วมกับชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและจัดเวทีถอดบทเรียนร่วมกับชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการประเมินผลและจัดเวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน พร้อมหาแนวทางแก้ไข สำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนการ ต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หาแนวทางแก้ไข สำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนการได้ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการครบ 100%
2. นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำได้รับการดูแลและติดตามอย่างเหมาะสม
3. ผู้ปกครองและครูมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 80%
4. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กมีแนวโน้มดีขึ้น


>