กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำดี มีคุณภาพ ร้านอาหารสะอาด ผู้ประกอบการใส่ใจ ห่วงใยผู้บริโภค ตำบลลุโบะสาวอ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค แม้ว่าภาครัฐจะมีการเข้ามาตรวจสอบและควบคุมมาตรฐาน แต่ยังพบว่าร้านค้าในชุมชน รวมถึงรถเร่ ยังมีการนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทย มาจำหน่ายแก่ประชาชนในชุมชนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อาจเกินความเป็นจริง ทำให้ผู้บริโภคบางคนหลงเชื่อในการโฆษณาดังกล่าว และอาจจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นต้น นอกจากในชุมชนจะมีร้านชำแล้ว ยังมีร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งพบว่า บางครั้งอาจมีการจำหน่ายอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม เช่น การปนเปื้อนของอัลฟลาทอกซิน สารฟอกขาว สารกันรา ตลอดจนน้ำมันทอดซ้ำ ของร้านอาหาร หรือแผงลอยจำหน่ายอาหารดังกล่าว ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ มีร้านชำจำนวน 29 ร้าน ร้านอาหาร (อาหารตามสั่ง/ก๋วยเตี๋ยว) จำนวน 10 ร้าน รวมทั้งสิ้น 39 ร้าน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านอาหาร และร้านขายของชำดังกล่าว เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ตลอดจนการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และรักษาคุณภาพด้านอาหารจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้เกิดความปลอดภัยจากบริโภคอาหาร การใช้ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหาร (อาหารตามสั่ง/ก๋วยเตี๋ยว) ในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังการจำหน่ายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ และเฝ้าระวังร้านอาหาร (อาหารตามสั่ง/ก๋วยเตี๋ยว)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อบรมให้ความรู้เกี่ยกับการจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ผู้ประกอบการร้านชำ 29 ร้าน ร้านอาหาร (อาหารตามสั่ง/ก๋วยเตี๋ยว) จำนวน 10 ร้าน และการให้ความรู้ในการเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่แกนนำ อสม 7 ค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อบรมให้ความรู้เกี่ยกับการจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ผู้ประกอบการร้านชำ 29 ร้าน ร้านอาหาร (อาหารตามสั่ง/ก๋วยเตี๋ยว) จำนวน 10 ร้าน และการให้ความรู้ในการเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่แกนนำ อสม 7 ค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ (ขนาด 3 เมตร1.5 เมตร)250เป็นเงิน 1,125 บาท 2) ค่าวัสดุอุปกรณ์การดำเนินการ เป็นเงิน 3,000 บาท 2) ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ600.-บาทเป็นเงิน3,000 บาท 3) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30 บาท x 60 คนเป็นเงิน3,600 บาท 4) ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท x 60 คนเป็นเงิน3,000 บาท เป็นเงิน13,725.- บาท ประมาณการค่าใช้จ่ายในกิจกรรม เป็นเงิน 13,725.- บาท(-หนึ่งหมื่นสามพันเจ็ดร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน-)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13725.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้บริโภค มีความรู้และมีความปลอดภัยจากบริโภคอาหาร การใช้ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ
2. ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหาร (อาหารตามสั่ง/ก๋วยเตี๋ยว) ในหมู่บ้าน สามารถเลือกซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการพัฒนาร้าน และ แผงลอยตามมาตรฐานสุขาภิบาลที่กำหนด
3.อสม.มีความรู้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยมีประโยชน์
ต่อสุขภาพ


>