แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำผุด รหัส กปท. L1498
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นายวิรัฐ ษัฏเสน
2. นางสาวสุชาดา ขาวสนั่น
3. นางสาวพรลภัส ขุนดำ
4. นางเรียม เกตุแก้ว
5. นางจุฑาทิพย์ ขุนดำ
โรคไข้เลือดออก นับว่าเป็นโรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยจากสถานการณ์การระบาดของโรค พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง และมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง และจะมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมและจะระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน) ของทุกปีและในช่วงระยะเวลา 2 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2566- 2567) จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2565 จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2568 จะเกิดการระบาดมากขึ้น
จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 -วันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีผู้ป่วยสะสม 105,801 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 162.99 ต่อประชากรแสนคน รายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 86 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.13 ต่อประชากรแสนคน และจะพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี (21.73%) รองลงมากลุ่มอายุ 10 – 14 ปี (17.30%) และพบมากในกลุ่มอาชีพนักเรียน ร้อยละ 37.30 รองลงมาในกลุ่มอาชีพในความปกครอง / ไม่ทราบอาชีพ ร้อยละ 36.30 จากสถานการณ์โรคในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 ลำดับแรก โดยกลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจาก 10 อำเภอในจังหวัดตรัง พบผู้ป่วย 1,307 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 205.38 ต่อประชากรแสนคน พบเสียชีวิต จำนวน 0.00 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.00 อำเภอที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ อำเภอย่านตาขาวจำนวน 235 รายคิดเป็นอัตราป่วย 366.97 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอเมืองตรัง จำนวน 547 รายคิดเป็นอัตราป่วย 355.54 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอนาโยง จำนวน 115 รายคิดเป็นอัตราป่วย 257.89 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอที่พบอัตราป่วยต่ำสุดคือ อำเภอนาโยง จำนวน 10 รายคิดเป็นอัตราป่วย 59.38 ต่อประชากรแสนคน และจากสถานการณ์โรคในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง 3 ลำดับแรก โดยกลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง 5 ลำดับแรก ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 พบผู้ป่วยทั้งหมด 547 ราย แยกเป็นรายตำบลที่มีผู้ป่วยสูงสุดคือ ตำบลทับเที่ยง จำนวน 132 ราย ตำบลบ้านโพธิ์ จำนวน 61 ราย ตำบลนาพละ จำนวน 50 ราย ตำบลโคกหล่อ จำนวน 48 ราย และตำบลน้ำผุด จำนวน 39 ราย และตำบลที่พบผู้ป่วยน้อยที่สุดคือ ตำบลนาโต๊ะหมิง จำนวน 7 ราย
และในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านหนองห้าง ตำบลน้ำผุด ตั้งแต่ ปี 2565 – 2567 พบว่ามีจำนวน 2 , 12 และ 15 คนตามลำดับ ซึ่งพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จาการสำรวจลูกการสำรวจลูกน้ำยุงลายเพื่อประเมินความเสี่ยงยุงลายในพื้นที่เป้าหมาย 7 ร. คือ โรงเรียน โรงธรรม โรงเรียน โรงแรม โรงงาน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ พบว่า วัดเป็นสถานที่ที่พบลูกน้ำยุงลายสูงสุด ร้อยละ 60.9 รองลงมาคือ โรงงาน ร้อยละ 55.6 และโรงเรียน ร้อยละ 46.0 ตามลำดับ และดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค โดยการเตรียมความพร้อมในการควบคุมโรค เช่น ยาทากันยุง ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย สเปรย์กำจัดยุงตัวเต็มวัยสำหรับใช้ในบ้านผู้ป่วย และบ้านในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย และจุดที่สงสัยเป็นแหล่งโรค
ดังนั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และลดความรุนแรงของโรคในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด เป็นการลดจำนวนป่วย และนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านหนองห้าง ตำบลน้ำผุด ได้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 8 บ้านหนองห้าง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
-
1. เพื่อรณรงค์ทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชนตัวชี้วัด : ประชาชนสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 90 ของหลังคาเรือน และร้อยละ 90 ของหมู่บ้านและชุมชนขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน และชุมชนตัวชี้วัด : สามารถควบคุมค่าความชุกของลูกน้ำยุงลาย โดยมีค่า HI น้อยกว่าร้อยละ 10 และค่า CI น้อยกว่าร้อยละ 10ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อลดอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกตัวชี้วัด : อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. กิจกรรมสำรวจ และทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายตามละแวกบ้านที่รับผิดชอบของ อสม.โดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมแจกทรายกำจัดลูกน้ำรายละเอียดงบประมาณ 0.00 บาท
- 2. กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยทีมหมอครอบครัว/ผู้นำชุมชน /อสม. และประชาชนจิตอาสา อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งรายละเอียด
- ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ถังๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
- โลชั่นทากันยุง จำนวน 500 ซองๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- สเปรย์พ่นกำจัดยุงตัวแก่ จำนวน 36 กระป๋องๆละ 80 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท
- ไฟฉายสำหรับสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 27 กระบอกๆละ 120 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท
- ค่าจ้างทำไวนิลประชาสัมพันธ์เรื่องไข้เลือดออก ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 432 บาท เป็นเงิน 432 บาท
งบประมาณ 21,052.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
รวมงบประมาณโครงการ 21,052.00 บาท
- ประชาชนสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
- ร้อยละของบ้านที่สำรวจ พบลูกน้ำยุงลาย (HI) น้อยกว่าร้อยละ 10
- ร้อยละของภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย (CI) น้อยกว่าร้อยละ 10
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน
- ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลน้ำผุด
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำผุด รหัส กปท. L1498
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำผุด รหัส กปท. L1498
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................