2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออก นับว่าเป็นโรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยจากสถานการณ์การระบาดของโรค พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง และมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง และจะมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมและจะระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน) ของทุกปีและในช่วงระยะเวลา 2 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2566- 2567) จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2565 จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2568 จะเกิดการระบาดมากขึ้น
จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 -วันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีผู้ป่วยสะสม 105,801 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 162.99 ต่อประชากรแสนคน รายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 86 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.13 ต่อประชากรแสนคน และจะพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี (21.73%) รองลงมากลุ่มอายุ 10 – 14 ปี (17.30%) และพบมากในกลุ่มอาชีพนักเรียน ร้อยละ 37.30 รองลงมาในกลุ่มอาชีพในความปกครอง / ไม่ทราบอาชีพ ร้อยละ 36.30 จากสถานการณ์โรคในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 ลำดับแรก โดยกลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจาก 10 อำเภอในจังหวัดตรัง พบผู้ป่วย 1,307 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 205.38 ต่อประชากรแสนคน พบเสียชีวิต จำนวน 0.00 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.00 อำเภอที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ อำเภอย่านตาขาวจำนวน 235 รายคิดเป็นอัตราป่วย 366.97 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอเมืองตรัง จำนวน 547 รายคิดเป็นอัตราป่วย 355.54 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอนาโยง จำนวน 115 รายคิดเป็นอัตราป่วย 257.89 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอที่พบอัตราป่วยต่ำสุดคือ อำเภอนาโยง จำนวน 10 รายคิดเป็นอัตราป่วย 59.38 ต่อประชากรแสนคน และจากสถานการณ์โรคในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง 3 ลำดับแรก โดยกลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง 5 ลำดับแรก ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 พบผู้ป่วยทั้งหมด 547 ราย แยกเป็นรายตำบลที่มีผู้ป่วยสูงสุดคือ ตำบลทับเที่ยง จำนวน 132 ราย ตำบลบ้านโพธิ์ จำนวน 61 ราย ตำบลนาพละ จำนวน 50 ราย ตำบลโคกหล่อ จำนวน 48 ราย และตำบลน้ำผุด จำนวน 39 ราย และตำบลที่พบผู้ป่วยน้อยที่สุดคือ ตำบลนาโต๊ะหมิง จำนวน 7 ราย
และในพื้นที่หมู่ที่ 11 บ้านไร่พรุ ตำบลน้ำผุด ตั้งแต่ ปี 2565 – 2567 พบว่ามีจำนวน 1 , 6 และ 1 คนตามลำดับ ซึ่งพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จาการสำรวจลูกการสำรวจลูกน้ำยุงลายเพื่อประเมินความเสี่ยงยุงลายในพื้นที่เป้าหมาย 7 ร. คือ โรงเรียน โรงธรรม โรงเรียน โรงแรม โรงงาน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ พบว่า วัดเป็นสถานที่ที่พบลูกน้ำยุงลายสูงสุด ร้อยละ 60.9 รองลงมาคือ โรงงาน ร้อยละ 55.6 และโรงเรียน ร้อยละ 46.0 ตามลำดับ และดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค โดยการเตรียมความพร้อมในการควบคุมโรค เช่น ยาทากันยุง ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย สเปรย์กำจัดยุงตัวเต็มวัยสำหรับใช้ในบ้านผู้ป่วย และบ้านในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย และจุดที่สงสัยเป็นแหล่งโรค
ดังนั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และลดความรุนแรงของโรคในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด เป็นการลดจำนวนป่วย และนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 11 บ้านไร่พรุ ตำบลน้ำผุด ได้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 11 บ้านไร่พรุ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
2. ร้อยละของบ้านที่สำรวจ พบลูกน้ำยุงลาย (HI) น้อยกว่าร้อยละ 10
3. ร้อยละของภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย (CI) น้อยกว่าร้อยละ 10
4. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน
5. ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลน้ำผุด