กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กเล็ก ศพด.อบต.เกาะเปาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กเล็ก ศพด.อบต.เกาะเปาะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.เกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เพื่อน้อมนำตามแนวทางพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงตรัสไว้ว่า เมื่อท้องอิ่มก็ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในชีวิตของเด็กๆ และเพื่อแก้ปัญหาเด็กๆ ที่ต้องไปโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า อันเนื่องจาก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้า ไม่ได้เตรียมอาหารเช้าไว้ให้ เด็กบางรายพ่อแม่ ผู้ปกครอง ทิ้งเงินไว้ให้ แต่เด็กนำไปซื้อขนมกินเล่นแทนที่จะซื้ออาหารหลัก บางครอบครัวเด็กขาดแคลนแหล่งอาหาร ไม่มีเงินซื้อ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล การบริโภคอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ จะส่งผลต่อระบบสมองและสมาธิในการเรียนรู้ของเด็ก เด็กบางคนต้องดื่มน้ำให้มากและบ่อยๆ เพื่อประทังความหิว รอจนถึงอาหารกลางวัน การสนับสนุนอาหารเช้าสำหรับเด็ก จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน จะทำให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ เด็กมีสมาธิในการเรียนสิ่งต่างๆ ตลอดทั้งวัน เด็กร่าเริง แจ่มใส ไม่งอแงและร่วมกิจกรรมในสถานศึกษาได้อย่างเต็มที่ อีกอย่างเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครอบครัวเด็กที่ยากจน ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับโครงการนี้จากหลายๆที่ได้ข้อมูล คือ พบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการทั้งทางร่างกาย คือเด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ด้านจิตใจและอารมณ์มีความพร้อม และตอบสนองในการทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ร่าเริงแจ่มใส ด้านสังคม เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะการกินอาหารร่วมกัน การแบ่งปัน ที่สำคัญคือ เด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือกินอาหารเช้ามากขึ้น ผู้ปกครองก็ให้ความใส่ใจเรื่องอาหารเช้ามากขึ้นเช่นกัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.เกาะเปาะ ซึ่งมีจำนวนเด็กทั้งหมด 37 คน จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กเล็ก ศพด.อบต.เกาะเปาะ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้บริโภคอาหารเช้า เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ และจำเป็นต่อร่างกาย

1.ร้อยละ 80 เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้บริโภคอาหารเช้า เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ และจำเป็นต่อร่างกาย

20.00 5.00
2 2.เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์

2.ร้อยละ 80 เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์

20.00 5.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าตลอดให้ติดเป็นนิสัย

3.ร้อยละ 70 ส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าตลอดให้ติดเป็นนิสัย

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 37
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมชี้แจงความรู้ให้กับผู้ปกครองนักเรียน เรื่องประโยชน์ของอาหารเช้า (วันปฐมนิเทศนักเรียนของ ศพด.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมชี้แจงความรู้ให้กับผู้ปกครองนักเรียน เรื่องประโยชน์ของอาหารเช้า (วันปฐมนิเทศนักเรียนของ ศพด.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมชี้แจงความรู้ให้กับผู้ปกครองนักเรียน เรื่องประโยชน์ของอาหารเช้า (วันปฐมนิเทศนักเรียนของ ศพด.) -การวัดส่วนสูง น้ำหนัก ของนักเรียน ศพด.อบต.เกาะเปาะ ก่อนดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้บริโภคอาหารเช้า ที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์
3.เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าตลอดให้ติดเป็นนิสัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเมนูอาหารเช้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเมนูอาหารเช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเมนูอาหารเช้า -ค่าอาหารเช้า จำนวน 37 คนๆละ 12 บาท 60 ครั้ง รวมเป็นเงิน 26,640 บาท -การวัดส่วนสูง น้ำหนัก ศพผ.อบต.เกาะปาะ หลังดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้บริโภคอาหารเช้า ที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์
3.เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าตลอดให้ติดเป็นนิสัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26640.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,640.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้บริโภคอาหารเช้า ที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์
3.เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าตลอดให้ติดเป็นนิสัย


>