แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการคัดกรองความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง ปีงบประมาณ 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง
นายอภิชาติ ปัจฉิมศิริ ผอ.รพ.สต.บ้านวังตง
นส.จัสมิน หลังเศษ นวก.สาธารณสุจชำนาญการ
เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านวังตง
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการเกษตรของประเทศไทยเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน สาเหตุหนึ่งมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมี ทำให้จำนวนของแมลงและศัตรูพืชนั้นสามารถสร้างความต้านทานต่อสารเคมีที่เกษตรกรใช้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชใน ปริมาณที่มากขึ้น อาจตกค้างในผลผลิต ซึ่งเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน กล่าวคือ สารเคมีที่ได้รับเข้าไปในร่างกายทางใด ปริมาณมากหรือน้อย ส่งผลกระทบให้เกิดโรคที่เป็นพิษเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากพิษสะสมและก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆตามมาได้
บ้านวังตงตำบลนาทอน เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดจากการสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูพืช (สารกำจัดแมลง สารกำจัดวัชพืช และสารอื่นๆ ทางการเกษตร) จากการปฏิบัติงาน รวมทั้งจากการรับสัมผัส ในปริมาณมากจากการรั่วไหลของสารกำจัดศัตรูพืช โดยไม่นับผู้ที่ป่วยจากเจตนาทำร้ายตัวเอง ทางรพ.สต.บ้านวังตง ได้สำรวจข้อมูลแบบสอบถามเป็นรายจำนวนบุคคลประกอบอาชีพเกษตรในพื้นที่จริงมีจำนวน 335 คน (สำรวจปีงบประมาณ 2568) พบประชากรกลุ่มสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 50
ข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่ายังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการคัดกรองความเสี่ยงของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจักศัตรูพืช ปีงบประมาณ 2568 เพื่อดำเนินการตรวจคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพเพื่อดูว่าปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยจะส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/06/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ 50
2. ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดที่มีความเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 80
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่พบระดับสารเคมีในเลือด ร้อยละ 50