กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ดง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปิงปอง 7 สี ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ดง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนกาแม

ตำบลแม่ดง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันโรคเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดภาวะแทรกช้อน ความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของมนุษย์ที่

 

70.00

ปัจจุบันโรคเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดภาวะแทรกช้อน ความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความเจริญของโลก ประกอบกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงทำให้มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง ในปี 2567 จังหวัดนราธิวาส มีอัตราป่วยรายใหม่ ด้วยโรคเบาทวาน 444.85 ต่อแสนประชากร โรคความตันโลหิตสูง 463.05 ต่อแสนประชากร โรคหัวใจขาดเลือด 0.13 ต่อแสนประชากร โรคหลอดเลือดสมอง 943.67 ต่อแสนประชากร และในปี 2567 ในเขต รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนกาแม มีอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคโรคเบาทวาน จำนวน 6 ราย คิดเป็น 696.06 ต่อแสนประชากร โรคความตันโลหิตสูง จำนวน 14 ราย คิดเป็น 832.80 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ดังกล่าวพบว่า อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีนโยบายและกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาโรคเรื้อรังในระบบริการปฐมภูมิ ป้องกันความเสี่ยง ลดเสี่ยง เสริมศักยภาพในการดูแลตนเอง ของประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มสมสมรรถนะของร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนกาแม จึงได้จัดทำโครงการปิงปอง 7 สี เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกช้อน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ทำให้สามารถลลดอัตราการป่วยรายใหม่และลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่

1.สามารถคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ได้ ร้อยละ 100

70.00 70.00
2 2.เพื่อพัฒนาการจัดระบบการดูแลความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ให้ได้มาตรฐาน

2.พัฒนาการจัดระบบการดูแลความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้มาตรฐาน

70.00 70.00
3 3.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถใช้ปิงปอง 7 สี ในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน

3.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถใช้ปิงปอง 7 สี ในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนได้

70.00 70.00
4 4.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดภาวะแทรกซ้อน

4.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดภาวะแทรกซ้อน

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/04/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตามโครงการปิงปอง 7 สี ปีงบประมาณ 2568

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตามโครงการปิงปอง 7 สี ปีงบประมาณ 2568
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่าง ค่าวัสดุอุปกรณื

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง = 3,600 บาท ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 70 คน  = 3,500 บาท ค่าอาหารว่าง 25 บาท x2 มื้อ 70 คน = 3,500 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 5,950 บาท - กระเป้าผ้าดิบ ขนาด 14''x14'' ก้น 6 ซม. ใบละ 60 บาท x 70 คน = 4,200 บาท - ปากกา ด้ามละ 5 บาท x 70 คน = 350 บาท - สมุดปกอ่อน เล่มละ 20 บาท x 70 คน = 1,400 บาท - ค่าป้ายโครงการ ขนาด1.5 x 4.0 เมตร = 1,500 บาท - ค่าป้ายปิงปอง 7 สี = 2,500 บาท ขนาด 2.5 x 5.0 เมตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ได้ทันเวลา
2.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับปิงปอง 7 สีเพิ่มขึ้น
3.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานสามารถเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้


>