กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการlสุขภาพดี ชีวีสดใส สูงวัยอย่างมีคุณค่า หมู่ที่ 6 ตำบลนาขยาด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

ชมรมผู้สูงอายุหมู่ที่ 6 (นายวีระเดช เพ็ชรสุข)

1 นายวีระเดช เพ็ชรสุข
2 นางประภา เพ็งหนู
3 นางสุจิรา เรืองเพ็ง
4 นางสาวสุมาลี ขวดแก้ว
5 นางพริ้ม ทิพย์ขุนราช

ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลนาขยาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

1.60
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

5.59
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

35.94
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/การเคลื่อนไหวร่างกายไม่คล่องแคล่ว

 

35.94

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

1.60 1.35
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

5.59 5.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/การเคลื่อนไหวร่างกายไม่คล่องแคล่ว

จำนวนผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/การเคลื่อนไหวร่างกายไม่คล่องแคล่ว

35.94 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ประกอบด้วยคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6   จำนวน  5 คน  สถานที่ประชุม  ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 เป้าหมายเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนโครงการ    มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1   ค่าอาหารว่าง   1  มื้อ  มื้อละ 25  บาท  จำนวน  5  คน  เป็นเงิน  125  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2568 ถึง 18 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการที่มีความรู้ความเข้าใจและมีหน้าที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
125.00

กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
เสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องหลักการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย สาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวานมันเค็ม หรือผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง และการอบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุสาธิตการพอกเข่าด้วยสมุนไพร เพื่อบำบัดอาการปวดเนื่องจากเข่าเสื่อม มีผู้เข้าร่วมโครงการ 45 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 5 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน จัดกิจกรรม 1 วัน (เวลา 09.00-16.00 น.) มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1 ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมงชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท รวมค่าวิทยากรทั้งหมด 2,100บาท
2 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อมื้อละ 60 บาท จำนวน 45 คน เป็นเงิน 2,700 บาท
3 ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 45 คน เป็นเงิน 2,250 บาท
4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมเรื่องหลักการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย ทำอาหารเพื่อสุขภาพจำนวน 1,400 บาท
5 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมเรื่องการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุฝึกการพอกเข่าด้วยสมุนไพรจำนวน 1,100 บาท
6 ค่าป้ายไวนิลขนาดสูง 120 เซนติเมตร ยาว 240 เซนติเมตร เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2568 ถึง 17 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม จำนวน 40 คน ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย การทำอาหารเพื่อสุขภาพ ตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมกับวัยและการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุการพอกเข่าด้วยสมุนไพรทำให้ผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวานมันเค็ม หรือผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องเหมาะกับวัยช่วยบรรเทาอาการปวดเนื่องจากเข่าเสื่อมได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 3 การประเมินผลและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
การประเมินผลและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ  จำนวน 5 คน ใช้สถานที่ ศาลาหมู่บ้าน หมุ่ที่ 6  ตำบลนาขยาด  เพื่อประเมินผล  ถอดบทเรียน  สรุปและจัดทำรายงานโครงการ จำนวน 3 เล่ม  มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1  ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ  มื้อละ 25  บาท จำนวน  5  คน   เป็นเงิน  125  บาท
2  ค่าจัดทำรายงานโครงการ  จำนวน  3  เล่ม  เล่มละ 80 บาท  เป็นเงิน  240  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1  มีรายงานโครงการ  จำนวน  3  เล่ม
2  มีการประเมินผลโครงการ
3  ปัญหาและอุปสรรค
4  บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
365.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม จำนวน 40 คน ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย การทำอาหารเพื่อสุขภาพ ตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมกับวัยและการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุการพอกเข่าด้วยสมุนไพรทำให้ผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวานมันเค็ม หรือผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องเหมาะกับวัยช่วยบรรเทาอาการปวดเนื่องจากเข่าเสื่อมได้


>