กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านเกาะยาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะยาง (นางเอกมล ปิ่นสุวรรณ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)

หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

15.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

24.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

15.00 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

24.00 15.00

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และความเจริญทางเทคโนโลยีมีผลทำให้สุขภาพของประชาชนป่วยหรือตายด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจก่อให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก (กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข : พ.ศ.2564) มีจำนวนผู้ป่วย 463 ล้านคน และคาดว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.2 ล้านคน ของกระทรวงสาธารณสุข ก่อให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปีและหากรวมอีก 3 โรค คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษารวมกันสูงถึง 302,367 ล้านบาทต่อปีโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆในกลุ่มโรค NCDs อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ฯลฯ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ซึ่งมุ้งเน้นการลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่เช่นโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และลดความรุนแรงของผู้ป่วยรายเก่าด้วยการส่งเสริมให้มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพเช่นการรับประทานอาหารการนับคาร์บการออกกำลังกายที่เหมาะสมซึ่งได้มีระบบบริการตั้งแต่การส่งเสริมป้องกันการคัดกรองการตรวจวินิจฉัยการรักษาจนถึงการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
จากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป รพ.สต.บ้านเกาะยาง ตำบลนาขยาดอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุงปี 2567คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 1,227 คนพบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 161คน ร้อยละ 13.72 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 19คน ร้อยละ 1.55พบผู้ป่วยรายใหม่ 5คนคิดเป็นร้อยละ 0.41คัดกรองโรคความดันโลหิต กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 989 คน พบกลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน173 คน คิดเป็นร้อยละ 17.98 กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.44 พบผู้ป่วยรายใหม่ 22คน คิดเป็นร้อยละ 2.23 จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะยาง เล็งเห็นต่อความสำคัญในการตรวจคัดกรอง และการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการคัดกรองที่ควรดำเนินการต่อเนื่องในทุกๆปี เพื่อเป็นการป้องกัน ค้นหากลุ่มผู้ป่วยรายใหม่เพื่อให้ได้รับการักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการตายที่อาจเกิดขึ้นได้จากโรคไม่ติดต่อ และเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้เกิดความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพ ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ ได้มีการปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมเสี่ยง ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีและส่งผลต่อระบบบริการด้านสาธารณสุขที่ดีอย่างยั่งยืน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 405
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 922
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/05/2025

กำหนดเสร็จ 12/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
1. การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,327 คน โดยการออกตรวจคัดกรองในหมู่บ้าน และแยกผลการคัดกรองกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผิดปกติ
1. จัดซื้้อเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจำนวน 4 เครื่องๆละ 2,850 บาท เป็นเงิน 11,400 บาท
2. แถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 25 กล่องๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท (กล่องละ 50 ชิ้น)
3.สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์สำเร็จรูป แผงละ 10 ก้อน ราคาแผงละ 12 บาท จำนวน 100 แผง เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 93

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37600.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ตามหลัก 3อ 2ส (อ.อาหาร , อ.อารมณ์, อ.ออกกำลังกาย , ส.ไม่สูบบุหรี่ ,ส.ไม่ดื่มสุรา) - ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2568 ถึง 15 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ร้อยละ 90
- กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ร้อยละ 100
ผลลัพธ์ - กลุ่มเสียงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกลุ่มปกติได้
- กลุ่มสงสัยป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมาเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส. ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส. ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วย (ครบ 1 เดือน )
- เจาะ FBS เพื่อติดตามผลน้ำตาลในเลือดกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน
- ติดตามค่าความดันโลหิตกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิต
2.กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง (ครบ 6 เดือน)
- เจาะ FBS เพื่อติดตามผลน้ำตาลในเลือดกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
- ติดตามค่าความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิต
3.สรุปผลการติดตาม คืนข้อมูลให้กลุ่มเป้าหมาย ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2568 ถึง 28 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100
- กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 90
ผลลัพธ์
- กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามครบตามแนวทาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เข้าสู่ระบบการรักษา

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เข้าสู่ระบบการรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาชนกลุ่มที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด และค่าระคับความดันโลหิตสูง อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานเป็นกลุ่มป่วยได้เข้าสู่ระบบการรักษาต่อไปให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต.(หมอคนที่ 2 ) เพื่อส่งต่อแพทย์ (หมอ 3)วินิจฉัย
-ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2568 ถึง 28 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นกลุ่มป่วยและเข้าสู่ระบบการรักษาร้อยละ 100
ผลลัพธ์ กลุ่มป่วยได้รับการรักษาและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ได้รับการคัดกรองได้รับการดูแลติดตาม และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เป็นกลุ่มป่วย


>