2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และความเจริญทางเทคโนโลยีมีผลทำให้สุขภาพของประชาชนป่วยหรือตายด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจก่อให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก (กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข : พ.ศ.2564) มีจำนวนผู้ป่วย 463 ล้านคน และคาดว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.2 ล้านคน ของกระทรวงสาธารณสุข ก่อให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปีและหากรวมอีก 3 โรค คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษารวมกันสูงถึง 302,367 ล้านบาทต่อปีโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆในกลุ่มโรค NCDs อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ฯลฯ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ซึ่งมุ้งเน้นการลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่เช่นโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และลดความรุนแรงของผู้ป่วยรายเก่าด้วยการส่งเสริมให้มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพเช่นการรับประทานอาหารการนับคาร์บการออกกำลังกายที่เหมาะสมซึ่งได้มีระบบบริการตั้งแต่การส่งเสริมป้องกันการคัดกรองการตรวจวินิจฉัยการรักษาจนถึงการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังดาน ตำบลนาขยาดอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ปี 2567คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 1,355 คนพบกลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 14.83 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 1.69 พบผู้ป่วยรายใหม่ 4 คนคิดเป็นร้อยละ 0.29 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบกลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 238 คน คิดเป็นร้อยละ 17.56 กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.99 พบผู้ป่วยรายใหม่ 6คนคิดเป็นร้อยละ 0.44จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังดาน เล็งเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการคัดกรองที่ควรดำเนินการต่อเนื่องในทุกๆปีการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการักษารวดเร็ว และรักษาต่อเนื่องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการตายด้วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าว
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 26/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชน 35ปี ขึ้นไปทุกคน ได้รับการตรวจคัดกรองโรค NCDs และทราบสถานสุขภาพของตนเอง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรค NCDs ลดลง
3. ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัย รักษาได้เร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน
4. อัตราการป่วยโรคหลอดเลือดสมองลดลง