กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาบัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ควบคุมและป้องกันโรคเรื้อนรายใหม่ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาบัน

1.นางสาวซาร์วาตุลอาห์ลัม สุหลง
2.นางรอกีเยาะ มะลี
3.นางยาวาเฮ สะอะ
4.นางสาวฮายาตี เปาะแต
5.นางสาวนิฟาติมา ราเด็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนในพื้นที่ได้รับการตรวจค้นหา

 

100.00
2 ร้อยละของการเกิดโรคเรื้อนรายใหม่

 

0.00
3 ร้อยละของประชาชนได้รับความรู้ ความสามรถในการควบคุมโรคเรื้อน

 

100.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยรายเก่าได้รับประทานยาครบสูตร

 

100.00

โรคเรื้อนเป็นที่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ปรากฏอาการที่ผิวหนังและเส้นประสาทส่วนปลาย การดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้าๆเมื่อเส้นปราสาทถูกทำลายทำให้เกิดความพิการที่ตา มือ และเท้าได้ จากการที่องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ความชุกของโรคเรื้อนที่ไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขต้องไม่ต่ำกว่า 1 ต่อหมื่นประชากร ประเทศไทยได้ดำเนินโครงการป้องกันควบคุมโรคเรื้อนได้สำเร็จ จนไม่เป็นปัญหาในระดับประเทศ แต่จากข้อมูลปี 2555-2565 พบว่า ชุมชนบ้านตือระ หมู่ที่ 1 ตำบลสาบัน อ.ยะหริ่งจังหวัดปัตตานี ยังมีอัตราความชุกมากกว่า 1 ต่อหมื่นประชากร และ พบว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อนในเกือบทุกปี ในปี 2565 ตำบลสาบันพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.18 ต่อหมื่นประชากร และในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ จำนวน 1 ราย เป็นอัตราป่วย 0.08 ต่อหมื่นประชากร และพบผู้ป่วยรายเก่าที่รักษาไม่ครบตามกำหนด และรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งกลับมาเป็นใหม่
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลสาบัน จึงได้จัดทำโครงการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในชุมชนปี 2568 เพื่อจัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อ และเผยแพร่ให้กับประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจจะได้ช่วยกันป้องกันและควบคุมโรคโรคเรื้อนไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1เพื่อสร้างเครือข่ายการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่

1.มีเครือข่ายในการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในพื้นที่

100.00 100.00
2 1.2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนทุกระยะ ได้รับการรักษาต่อเนื่อง

2.ผู้ป่วยโรคเรื้อนทุกระยะได้รับการรักษาต่อเนื่องและถูกต้อง

50.00 100.00
3 1.3 เพื่อคัดกรองผู้ปสัมผัสโรค และได้รับการเฝ้าระวังโรค และตรวจไม่พบเชื้อ

3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับกสรเฝ้าระวังโรคเข้าใจ ถูกต้อง และป้องกันได้

80.00 100.00
4 1.4 เพื่อลดอัตราการป่วยจากโรคเรื้อนในชุมชน

4.มีอัตราป่วยโรคเรื้อนลดลง

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจ้ง และลงสำรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยง หมู่ที่ 1 บ้านตือระ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู้ที่1

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจ้ง และลงสำรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยง หมู่ที่ 1 บ้านตือระ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู้ที่1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมขี้แจ้งเกี่ยวกับโครงการ แบ่งหน้าที่ในการดำเนินการ และลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงในหมู่ที่1 บ้านตือระ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าหน้าที่ จำนวน 4 ราย และ อสม. ม1 จำนวน 6 ราย ได้กลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหา และลงแบบบันทึก -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน มื้อละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 300 บาท -ต่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 เมตร. X 2 เมตร. จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 2 2.ลงพื้นที่ดำเนินการคัดกรอง และตรวจร่างกายระบบผิวหนัง เฝ้าระวัง พร้อมให้ความรู้และการดูแลสุขภาพในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 ราย และอาสาสมัครประจำหมู้บ้าน หมู่ที่ 1 จำนวน 5 ราย และ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 48 ราย

ชื่อกิจกรรม
2.ลงพื้นที่ดำเนินการคัดกรอง และตรวจร่างกายระบบผิวหนัง เฝ้าระวัง พร้อมให้ความรู้และการดูแลสุขภาพในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 ราย และอาสาสมัครประจำหมู้บ้าน หมู่ที่ 1 จำนวน 5 ราย และ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 48 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้ คัดกรอง ตรวจร่างกาย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน มื้อละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป้นเงิน 3,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถแยกโรค ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2.มีการสร้างเครือข่ายในชุมชน เฝ้าระวังการเกิดโรคได้อีก10ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักของโรคเรื้อนมากขึ้น
2.ผู้ป่วย และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.ผู้ป่วยรายใหม่ลดลง


>