2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การฝากครรภ์และการตั้งครรภ์เป็นระยะที่มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ เกิดขึ้นมากกว่าปกติ เพราะอัตราการเติบโตของทารกในครรภ์สูงกว่าระยะอื่นๆ ของชีวิต การดูแลสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ ถ้าได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งเรื่องของภาวะโภชนาการ การพักผ่อน การพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ และเข้าใจถึงการปรับเลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะทำให้มารดามีสุขภาพสมบูรณ์และให้กำเนิดทารกที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้ามารดาปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะเสี่ยงต่างๆอาทิ ภาวะโลหิตจางในเด็ก ภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง โลหิตเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กต่อไปในอนาคต เพราะฉนั้นการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มีความสำคัญกับหญิงตั้งครรภ์ทุกราย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา จังหวัดบุรีรัมย์พบหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนด คิดเป็นร้อยละ 9.41 และในพื้นที่อำเภอระแว้ง มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 80.33 และฝาก 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 78.15 (ที่มาข้อมูล : hdcservice.moph.go.th สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม2566) จากข้อมูลจะพบว่า ยังมีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ได้เข้ารับบริการสุขภาพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์คุณภาพของกระทรวงสาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลระแว้ง เป็นราชการส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 67 (6) และตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด รวมไปถึงคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ได้กำหนดแนวทางนโยบายการส่งเสริมสุขภาพสตรีและหญิงตั้งครรภ์โครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วันแรกแห่งชีวิต ของตำบลระแว้ง ซึ่งจากข้อมูลหน่วยงานด้านสาธารณสุขตำบลระแว้งพบว่า ในปีที่ผ่านมา มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโภชนาการต่ำและมีทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 4 ราย ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสตรีและหญิงตั้งครรภ์ และป้องกันภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลระแว้ง จึงได้จัดทำโครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องการการดูแลสุขภาพในทุกๆด้าน ทั้งการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด ส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัยซึ่งจะเป็นกำลังใจสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งก่อนการตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/06/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?