2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๓ “บริการสุขภาพปฐมภูมิ” หมายความว่า บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มุ่งหมายดูแลสุขภาพของบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบในลักษณะองค์รวม ตั้งแต่แรก ต่อเนื่อง และผสมผสานครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมเชื่อมโยงกับครอบครัว ชุมชน และบริการทางการการแพทย์และสาธารณสุขระดับทุติยภูมิและตติยภูมิและตามมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ และมาตรา ๕๕ บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย นโยบายการพัฒนามาตรฐานคุณภาพระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ (นโยบาย รพ.สต.ติดดาว เดิม) นโยบายการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) และนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน
สำนักงานเขตสุขภาพที่ ๑๒ มีนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Excellence Primary Care) โดยมีพื้นฐานสำคัญการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และมีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพ (Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย จึงได้จัดทำโครงการศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs สถานีสุขภาพในชุมชน (Health Station)ปีงบประมาณ 2568 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสถานีสุขภาพ (Health Station) ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงของประชาชนช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลงได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 28/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ลดภาวะเสี่ยงต่อโรค NCDs ลดผู้ป่วยรายใหม่
2.ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการที่สถานีสุขภาพ (Health Station)เพิ่มขึ้น ลดความแออัดในโรงพยาบาล