กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสถานีสุขภาพชุมชน (Healh station) ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพังดาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพังดาน (นางสาวสุมาลี ขวดแก้ว)

1.นางสาวสุมาลี ขวดแก้ว
2.นายภูวดล สุขทอง
3.นางพิกุล เพ็งจันทร์
4.นายอุรุพงษ์ คงแก้วช่วย
5.นางสุจิรา เรืองเพ็ง

หมูที่ 1,2 และหมู่ที่ 6 ตำบลนาขยาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

27.00
2 i้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

 

35.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

 

25.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งพบว่าอัตราชุกของโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองอันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยง
ที่คุกคามภาวะสุขภาพได้แก่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด เป็นต้น ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ปี 2568มีนโยบายคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพโดยการนำศักยภาพของเครือข่ายสาธารณสุขทุกภาคส่วน รวมถึง อสม.ในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมโดยจากงานวิจัยของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ WHO ในปี 2562 ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตด้วย NCDs ปีละกว่า 400,000 ราย และสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี หรือร้อยละ 9.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยเป็นค่ารักษาพยาบาลทางตรง 1.39 แสนล้านบาท และความสูญเสียทางอ้อมอีก 1.5 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนจึงพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำสุขภาพของชุมชน ในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค NCDs เชิงรุก โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รวมถึงเป็นผู้ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ในฐานะหมอคนที่ 1 ช่วยยกระดับระบบสุขภาพปฐมภูมิให้คนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ ลดอัตราการป่วยด้วยโรค NCDs ก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพของประเทศ ด้วยหลักคิด “NCDs ดีได้ด้วยกลไก อสม.” พร้อมทั้งจะสนับสนุนการดำเนินงานและดูแลให้มีความ “ก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืน” ทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพ การปฏิบัติงาน ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรอง และติดตามภาวะความดัน และน้ำตาลในเลือด นอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพ (Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพังดานจึงได้จัดทำโครงการ สถานีสุขภาพในชุมชน (Health Station) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสถานีสุขภาพ (Health Station) ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังดาน ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงของประชาชนช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง

27.00 25.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดัน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันลดลง

35.00 30.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง

25.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
กลุ่มผู้สูงอายุ 95
กลุ่มวัยทำงาน 230

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ และ อสม.เพิ่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการจัดกิจกรรม
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 70 คน 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2568 ถึง 20 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงานสถานีสุขภาพชุมชน 70 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้ความรู้
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 70 คน 1มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท
-ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 3 เครื่องๆละ 2,850 บาท เป็นเงิน 8,550 บาท
-ค่าไวนิลความรู้พร้อมขาตั้ง จำนวน 6ชุดๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าสายวัดรอบเอวอ่านค่าดรรชนีมวลกาย จำนวน 70 อันๆละ 145 บาท เป็นเงิน 10,150 บาท
-ค่าโฟมบอร์ดสถานีสุขภาพชุมชน (Health station) จำนวน 3 อันๆละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มิถุนายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับกาคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและมีความรู้เรื่อง NCDs และมีแผนการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย/ ประชาชนเข้าถึงบริการและดูแลสุขภาพตัวเองได้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีสถานีสุขภาพชุมชน (Healh station)
2.ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น ลดความแออัดในโรงพยาบาล
1.กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยรายใหม่โรค NCDs ลดลง


>