กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในคลินิก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

รพ.สต.นาหม่อม

นายวิทูรชิตมณี
นางรุ่งฤดีนาราษฎร์
นางสาวอาทิตยา พิพัฒน์สุริยะ
นางสาวเกสรกูลเกื้อ
นางสาวสมิตานันหน่อสุข

ห้องประชุมศาลาประชาคม อำเภอนาหม่อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการเหตุผล
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเกิดโรคเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยง ที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียด และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดนิ้ว ตัดขา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม

จากข้อมูล ปี 2565-2567 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต.นาหม่อม จำนวน 473,516 และ 554 ราย จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 1,321, 1,327 และ 1,369 ราย พบว่าในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ข้อมูลปี 2567 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดี จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.9 ข้อมูลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันได้ดี จำนวน 461 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.67 ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการต่อเนื่องจำนวน 331 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.74 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการต่อเนื่อง จำนวน 587 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.87 จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตมีความเสี่ยงที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากยังควบคุมโรคได้ไม่ดี ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย จึงได้จัดทำ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในคลินิก เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ มีความตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ร่วมรับรู้และเข้าใจปัญหาร่วมกัน ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ ที่ส่งผลในเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้มีความตระหนักในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่องในการรักษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อส่งเสริมความรู้ และความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ตามหลัก 3อ. 2ส. และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 66
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ - ค่าวิทยากร 3 คน x 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5x2 เมตรเป็นเงิน360 บาท - ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 66 คน ๆละ 70 บาท เป็นเงิน4,620 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 66 คน ๆละ 2 มื้อ ๆละ35 บาทเป็นเงิน 4,620 บาท - ค่าอื่นๆ เช่น ค่ากระดาษ ค่าเอกสารเล่มรายงานเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดกลุ่มรูปแบบฐานการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดกลุ่มรูปแบบฐานการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 3 ฐาน 1. ฐานอาหารผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง /การทำ IF 2. ฐานออกกำลังกายเพื่อลดความดันโลหิตและลดน้ำตาล 3. ฐานการดูแลตาและเท้า/การตรวจความผิดปกติของตาและเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3อ.2ส. เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง
3. กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด / ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสูง / ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน เดือนละครั้ง


>