กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไทรทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยหลัก ๓ อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไทรทอง

กองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี

องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่จะอยู่อาศัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างเท่าเทียมกันและอยู่ร่วมกันกับครูผู้ดูแลเด็กและเพื่อนๆ อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการจัดการที่ดี จะต้องมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็กได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ
ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กเล็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเองและดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ครูผู้ดูแลเด็กควรได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครองเด็กและชุมชนเข้ามาบทบาทมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานราชการกับชุมชน
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยหลัก ๓ อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย ด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและถูกต้องตามโภชนาการ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและมีอารมณ์แจ่มใสตามวัย รวมทั้งเพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑ เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย
๒ เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัยในชีวิตประจำวัน
๓ เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารโภชนาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อารมณ์และการคลายเครียดในเด็กปฐมวัย
๔ เพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/05/2025

กำหนดเสร็จ 31/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยหลัก ๓ อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์)

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยหลัก ๓ อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๑.๒๐ x ๒.๔๐ เมตร จำนวน ๑ ป้าย   720.- บาท ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม (ไม่รวมเด็กปฐมวัย) จำนวน ๘๐ คนๆ ละ ๑ มื้อๆ ละ ๕๐ บาท  4,000.-  บาท ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม (ไม่รวมเด็กปฐมวัย) จำนวน ๘๐ คนๆ ละ ๒ มื้อๆ ละ ๒๕ บาท  4,000.- บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในโครงการ (สมุด ปากกา แฟ้มเอกสาร)  จำนวน ๘๐ ชุดๆ ละ ๔๐ บาท   3,200.- บาท ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน ๔ ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาท  2,400.- บาท รวม 14,320.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย ๒ ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัยในชีวิตประจำวัน ๓ ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารโภชนาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อารมณ์และการคลายเครียดในเด็กปฐมวัย ๔ ทำให้ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เกิดการร่วมมือในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย
๒ ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัยในชีวิตประจำวัน
๓ ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารโภชนาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อารมณ์และการคลายเครียดในเด็กปฐมวัย
๔ ทำให้ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เกิดการร่วมมือในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


>