2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานหนักและลักษณะการทำงานมีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2557 มีผู้มีงานทำทั้งสิ้น 38.4 ล้านคน เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ 22.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 57.6 และที่เหลือเป็นแรงงานในระบบ 16.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 42.4 ซึ่งแรงงานนอกระบบจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมโดยมีจำนวนถึง 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 56.9 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีความสวยงาม ตรงตามความต้องของผู้บริโภค ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากมีการใช้ในปริมาณมาก ใช้ไม่ถูกวิธี ผู้ใช้ขาดการป้องกันตนเองขณะใช้งาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังระดับ เล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ดังนั้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงเป็นความเสี่ยงสำคัญในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงาน กับสารเคมีการสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลม ทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น
การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบ โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) เป็นเครื่องมือในการคัดกรองความเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต เพื่อคัดกรองว่าในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีของเกษตรกรนั้น เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับใด แต่อาจยังไม่ส่งผลให้เกิดอาการแพ้พิษสารเคมีก็ได้ ซึ่งจากผลการคัดกรองความเสี่ยงจะทำให้เกษตรกร เกิดความตระหนัก และนำไปสู่การแนะนำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ หรือมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง และสามารถป้องกันตนเองขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ มีประชากรวัยทำงานอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ
ปี 2568 จำนวน 3,665 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก จำนวน 1,832 คน ซึ่งใน ปี 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ ได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้รับการเข้าตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรจำนวน 194 คน พบผลตรวจมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย จำนวน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 86.08 จากผลการดำเนินโครงการดังกล่าว ทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมโครงการเกษตรกรปลอดโรค เพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการจัดเวทีคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ สารกำจัดศัตรูพืช วิธีการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การให้คำปรึกษา ฯลฯดังนั้น เพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านหูแร่จึงจัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?เกษตรกรและผู้บริโภคที่มีความเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช