2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบจิตใจระดับต่าง ๆ กันไปโดยทั่วไปจะมีการปรับระดับจิตใจในทางที่ดีงานมากขึ้น สามารถควบคุมจิตใจได้ดีกว่าจึงพบว่าเมื่อคนมีอายุที่มากขึ้นจะมีความสุขุมมากขึ้นด้วยผู้สูงอายุมีลักษณะของโครงสร้างทางจิตใจเฉพาะเป็นของตนเอง ซึ่งจะเป็นรากฐานของการแสดงออกของคน ผู้สูงอายุจะมีปัญหาทางด้านสังคมและจิตใจซึ่งเป็นการปรับตัวเชิงลบ และการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน แบ่งได้ 3 ด้าน คือการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ทางด้านสังคม และทางด้านจิตใจ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและจิตใจที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต 1. ทางสังคม พบว่าเมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดังนี้ การสูญเสียบทบาททางสังคมที่เคยมีบทบาท ตำแหน่ง มีคนเคารพนับถือในสังคม การสูญเสียสมาคมกับเพื่อนฝูง การสูญเสียสภาวะทางการเงินที่ดี จากรายได้ลดลง ขณะที่ค่าครองชีพกลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ 2. ทางอารมณ์และจิตใจ ดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ ในบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพที่เสื่อมลง ด้านความจำ มักพบว่าผู้สูงอายุจะจำเรื่องราวในอดีตได้ดี แต่มีความจำเกี่ยวกับสิ่งใหม่ ๆ ลดลง การกระตุ้นความจำจึงต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอน ด้านสติปัญญา โดยปกติความสามารถทางสมองจะเริ่มลดลง คุณลักษณะการเสื่อมทางปัญญาที่พบในผู้สูงอายุได้แก่ ความสามารถในการใช้เหตุผล ความสามารถในการคำนวณบวกลบตัวเลข ความสามารถในการคิดเรื่องนามธรรม ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ แต่จะดีขึ้นถ้ามีการใช้ประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาเข้าช่วย และความสามารถในการตัดสินใจ พบว่าช้าลงต้องให้บุคคลอื่นช่วยคิดตัดสินใจ
ปัญหาสุขภาพจิตพบในผู้สูงอายุ คือเรื่องความเครียดโดยมีอาการแสดงว่าผู้สูงอายุเกิดความเครียด คืออารมณ์ตึงเครียด ยิ้มไม่ออก สนุกไม่ออก หัวใจเต้นแรง ผิวหนังเย็นหรือแห้ง มันศีรษะหรือท้ายทอย หงุดหงิดง่าย ดูไม่มีความสุข วิตกกังวล เหงา/ว้าเหว่ จู้จี้ ขี้บ่น กลัวการถูกทอดทิ้ง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า นอนไม่หลับ
โดยผู้สูงอายุหมู่ที่ 8 บ้านคลองเขาล้อน มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 246 คน ในบางรายอาศัยอยู่เพียงลำพัง หรืออยู่กัน 2 ตายาย โดยมีไม่มีผู้ดูแล ในบางรายเป็นผู้สูงอายุที่ติดเตียง ติดบ้าน ไม่เข้าสังคม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านคลองเขาล้อน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างสนับสนุนและดำเนินการในด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุ จากปัญหาสุขภาพจิตที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นได้เห็นความสำคัญ จึงขอเสนอจัด “โครงการชาวคลองเขาล้อนห่วงใย สานสายใยสุขภาพจิตผู้สูงอายุ” ขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุและเพื่อเยี่ยมเสริมกำลังใจผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการโดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการส่งเสริมสุขภาพจิต ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม หากมีความผิดปกติ สามารถปรึกษาพยาบาลจิตเวชได้โดยตรง หรือได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาต่อไป
2 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการเยี่ยมบ้านดูแลจิตใจผู้สูงอายุ โดยอสม. ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกได้รับความอบอุ่น สามารถสร้างรอยยิ้มได้ในผู้สูงอายุจากกิจกรรมการเยี่ยมบ้านฯ