2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน โรคติดต่อต่าง ๆ เป็นภัยที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู รวมถึงโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ยังคงเป็นปัญหาสาธารสุขที่พบได้ในหลายพื้นที่ และมีแนวโน้มระบาด
เป็นวงกว้าง ทำให้ป่วยและเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการรักษาพยาบาล และอาจเสียชีวิตได้ จึงต้องมีการควบคุม ป้องกัน ให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยคนในครัวเรือน ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการคัดกรองควบคุม ป้องกันตนเอง และมีความตระหนักรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆ อีกทั้งชุมชนเป็นพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดต่อเหล่านี้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนที่อาจขาดการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี
ดังนั้นการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและดูแลรักษาโรคติดต่อในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและครอบครัว รวมถึงสังเกตและรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการเพิ่มความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ เพื่อการมีสุขภาพดีในระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน
จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง ในปี 2567 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 – กันยายน 2567 มีผู้ป่วยสะสมทั้งสงสัย เข้าข่าย และยืนยันด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 185.5 ต่อแสนประชากรเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังพบว่าปี 2567 มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงกว่าค่ามัธยฐาน และจากข้อมูลการสำรวจในพื้นที่พบว่า ค่าดัชนี HI (House Index) ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 มีค่าดังนี้: เดือนมกราคม 13.06%, เดือนกุมภาพันธ์ 8.45%, เดือนมีนาคม 6.81%, เดือนเมษายน 8.20%, เดือนพฤษภาคม 8.63%, เดือนมิถุนายน 11.30%, เดือนกรกฎาคม 8.14%, เดือนสิงหาคม 8.22%, และเดือนกันยายน 8.65% จะเห็นได้ว่าในบางเดือนมีค่าดัชนีสูงกว่าร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าเกินเกณฑ์ปลอดภัย และสะท้อนถึงความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำขัง เช่น ภาชนะที่ไม่ได้ใช้ บ่อเก็บน้ำ หรือแจกันดอกไม้ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สำคัญของยุงลาย การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจึงเป็นมาตรการสำคัญอันดับแรกในการลดจำนวนยุงพาหะและป้องกันการระบาดของโรค
ทั้งข้อมูลรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง 506 ) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
ยังพบโรคติดต่ออื่น ๆ เช่น โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน, โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ตลอดทั้งปี และทุกเดือนมีรายงานผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี
ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง จึงขอจัดทำโครงการคนเขาพระรู้ทันโรคติดต่อ สร้างเกราะป้องกัน ปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ที่อาจจะมีผลต่อสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และเพื่อลดการระบาด ของโรคที่อาจจะเกิดโรคเป็นวงกว้างตามมา หากเกิดขึ้นในชุนชน โดยคนในชุมชน สามารถรู้เท่าทันและสร้างเกราะป้องกันระวังตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ร้อยละ 20
2. ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงเป็นพาหะ
3. นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบได้ความรู้โรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ วิธีการดูและการป้องกันเพิ่มขึ้น
4. โรคติดต่อในพื้นที่ได้รับการสอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค ร้อยละ 100
5. ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงทราบสถานะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เข้าถึงการรักษา