กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์ ตำบลฉาง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉาง (ผู้รับผิดชอบ นางสาวเมวดี หมานระโต๊ะ (063-1027230) )

ตำบลฉาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละตัวอย่างสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางค์ที่ไม่ปลอดภัย

 

30.00

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความครอบคลุมในเรื่องของความปลอดภัย คุณภาพมาตรฐาน การบริโภคจากร้านขายของชำ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอางค์ ยา ของใช้ต่างๆ เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ปัจจุบันปัญหาความไม่ปลอดภัยของการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้น ทั้งในด้านการปนเปื้อนอาหาร ภาชนะ ผู้ปรุงอาหารและอันตรายจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางค์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ จากการสุ่มตรวจร้านชำในพื้นที่ตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา จำนวน 10 ร้านค้า พบผลิตภัณฑ์สุขภาพเครื่องสำอางค์ ยา ที่อันตรายต่อสุขภาพ จำนวน 3 แห่ง (ข้อมูลจากงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉาง ปี 2567 ) และร้านชำ ร้านจำหน่ายอาหารไม่ได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ภาชนะ ผู้ปรุงอาหาร ในพื้นที่ตำบลฉางได้ครอบคลุมทุกร้าน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉาง จึงเล็งเห็นความสำคัญของร้านชำ ร้านจำหน่ายอาหาร ต้องได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ภาชนะ ผู้ปรุงอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง ได้จัดทำโครงการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์ ตำบลฉาง ปี 2568 ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางค์ที่ไม่ปลอดภัย

ร้อยละสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางค์ที่ไม่ปลอดภัย

30.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานและรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงานและรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วางแผนการดำเนินงานและรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้    - ค่าเอกสารแบบฟอร์มการรับสมัครเข้าร่วมโครงการ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 6 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีการสมัครเข้าร่วมโครงการตามที่กำหนดไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 110 ชุด เป็นเงิน 5,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท จำนวน 110 ชุด เป็นเงิน 5,500 บาท - ค่าป้ายโครงการขนาด 1x2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท - ค่าน้ำยาชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าชุดทดสอบเครื่องสำอางค์พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 10 ชุด ชุดละ 1,300 บาท เป็นเงิน 13,000 บาท - ค่าเอกสารแผ่นพับความรู้ เป็นเงิน 1,600 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินกิจกรรม เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36700.00

กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์ตามกลุ่มเป้าหมายและสรุปผลดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์ตามกลุ่มเป้าหมายและสรุปผลดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์ตามกลุ่มเป้าหมาย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลงพื้นที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางค์ตามกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,700.00 บาท

หมายเหตุ :
1.รายการทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม
2.วัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้อยละสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางค์ที่ไม่ปลอดภัย ลดลงตามที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 20)


>