กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงตั้งครรภ์ยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงสูง ปี2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา

ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง (High -Risk Pregnancy) คือ ภาวะใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือหลังคลอด เสี่ยงต่อการแท้งบุตรคลอดก่อนกำหนด ทารกพิการ และ ครรภ์เป็นพิษ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ รวมทั้งโรคไทรอยด์ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของมารดาและทารก จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดสถานการณ์การตั้งครรภ์เสี่ยงสูงพบได้ประมาณร้อยละ 7-21 ของการตั้งครรภ์ปกติ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกปี พ.ศ.2563 พบมารดาเสียชีวิตทั่วโลกจำนวน 211 รายต่อการเกิดมีชีพแสนคน ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการตายของมารดาเฉลี่ยอยู่ที่ 115 รายต่อการเกิดมีชีพแสนคน ปัจจุบันการตายของมารดามีผลกระทบต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขอย่างมาก สำหรับประเทศไทยอัตราส่วนการตายของมารดาปี พ.ศ.2563-2565 เท่ากับ 22.9, 39.0 และ 30.9 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน ตามลำดับ ซึ่งยังคงมีแนวโน้มที่สูงกว่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข คือ ไม่เกิน 17 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน และส่วนใหญ่มารดาที่เสียชีวิตอยู่ในกลุ่มตั้งครรภ์เสี่ยงสูง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง(2565-2567) ทั้งสิ้น 110, 112 และ113 ราย ตามลำดับ จากการคัดกรองเบื้องต้นมีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงตามรายงานภาวะเสี่ยง 21 ข้อ จำนวน 48, 53 และ 46 ราย ตามลำดับ โดยจัดเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ได้แก่ โรคเบาหวาน จำนวน 8 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 12 รายภาวะครรภ์เป็นพิษ จำนวน 7 ราย และภาวะตกเลือดหลังคลอด จำนวน 5 ราย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา จึงเล็งเห็นความสำคัญของภาวะเสี่ยงสูงของการตั้งครรภ์จึงได้จัดทำโครงการหญิงตั้งครรภ์ยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงสูง ปี2568 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและทารกในครรภ์ อีกทั้งการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอดจึงเป็นความสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาการเจ็บป่วยและสียชีวิตของมารดาและทารกในกลุ่มการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงได้อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ความเข้าในภาวะเสี่ยงสูงของการตั้งครรภ์และการปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
2.เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
3.เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจ และเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพได้
4.ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 75
5.ตัวชี้วัด : หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/12/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี กิจกรรมที่2 จัดอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี กิจกรรมที่2 จัดอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน คนละ 70 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน     4,900 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน     4,900 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน     1,500 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.5 เมตร เมตรละ 300 บาท x 1 ผืน         เป็นเงิน       900 บาท

กิจกรรมที่2 จัดอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ
          - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน คนละ 70 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                                         เป็นเงิน     1,050 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ                                         เป็นเงิน     1,050 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท                  เป็นเงิน     1,500 บาท

รวมทั้งสิ้น เป็นเงิน  15,800   บาท (เงินหนึ่งหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 2.  หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยง ตามมาตรฐานการฝากครรภ์ 3. แกนนำสุขภาพสามารถให้ความรู้และติดตามกลุ่มเป้าหมายในการปฏิบัติตัวและประเมินภาวะผิดปกติเพื่อส่งต่อได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>