กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านบันนังดามา ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา

ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในเด็กวัยเรียน เมื่อเทียบกับโรคอื่น ๆ ที่ตรวจพบในกลุ่ม เดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบ ต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก เด็กวัยเรียนที่อยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่าง ฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ตลอดจนมี ข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้ง การบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพ ครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม 2567 ในโรงเรียนประถมศึกษาเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา จำนวน 335 คน พบว่านักเรียนมีฟันแท้ผุจำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 52.24 เหงือกอักเสบจำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 35.82 และมีปัญหาระดับ จ ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 26.57 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา ได้ดำเนินการเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน รักษา สุขภาพช่องปากของนักเรียน และมีการปรับวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับปัญหาของแต่ละโรงเรียน ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากครู นักเรียน ผู้ปกครองและทันตบุคลาการ เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้มีการแปรงฟันที่ถูกวิธี และสม่ำเสมอทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านบันนังดามา ปี 2568 นี้ขึ้น เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ได้การตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100
2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่ไม่มีโรคประจำตัว หอบหืด ได้รับบริการทาฟลูออไรด์วานิชร้อยละ 80
3 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่มีปัญหาช่องปากได้รับชุดสาธิตการแปรงฟัน ร้อยละ 100

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 235
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/12/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ให้กับแกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ้านบันนังดามา หมู่ที่ 1 ต.กาบัง อ.กาบัง จ.ยะลา จำนวน 60 คน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนที่มีปัญหาช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ให้กับแกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ้านบันนังดามา หมู่ที่ 1 ต.กาบัง อ.กาบัง จ.ยะลา จำนวน 60 คน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนที่มีปัญหาช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ให้กับแกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ้านบันนังดามา หมู่ที่ 1 ต.กาบัง อ.กาบัง จ.ยะลา จำนวน 60 คน
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน คนละ 70 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.5 เมตร เมตรละ 300 บาท x 1 ผืนเป็นเงิน 900 บาท

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนที่มีปัญหาช่องปาก -ชุดสาธิตการแปรงฟัน ชุดละ 60 บาท X 175 คนเป็นเงิน 10,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,300 บาท (เงินสองหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

8.1 เพื่อให้แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อให้แกนนำนักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้องและสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้    ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของผู้นำนักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในดูแลสุขภาพช่องปากได้มากขึ้น               (โดยมีคะแนนทดสอบหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม)
8.2 มีการจัดกิจกรรม แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ทุกชั้นเรียนภายใต้การดูแลควบคุมของครูประจำชั้นและแกนนำนักเรียน ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของผู้นำนักเรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์ 8.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ได้การตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100 8.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่ไม่มีโรคประจำตัวหอบหืดได้รับบริการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 80 8.5 นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่มีปัญหาช่องปากได้รับชุดสาธิตการแปรงฟัน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>