กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสุขภาพที่ดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมาก ซึ่งแรกเริ่ม บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มาจนวันนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” วิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าไทย ระบาดเพิ่ม 10 เท่าใน 1 ปี เปิดเผยในวงสัมมนา‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’ ซึ่งการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบประชากรไทย มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 0.14 % คิดเป็นจำนวน 78,742 คน ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปี จำนวน 24,050 คน และการสำรวจสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปี 2565 พบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1.21% คิดเป็นจำนวน 709,677 คน โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปีจำนวน 269,553 คน บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่ ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และน้ำยาถ้ากล่าวถึงเฉพาะส่วนของน้ำยาที่จะถูกทำให้เป็นไอและเข้าสู่ร่างกายของผู้สูบจะประกอบด้วยสารประกอบหลัก ๆ คือ นิโคติน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มะเร็งช่องปาก หลอดอาหาร และตับอ่อน นอกจากนี้นิโคตินยังกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ซึ่งสารนี้ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน นิโคตินกระตุ้นให้จำนวนเซลล์ผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง สำหรับหญิงตั้งครรภ์นิโคตินส่งผลต่อการพัฒนาของสมองทารกในครรภ์ การได้รับสารนิโคตินในระดับที่สูง (60 mg. ในผู้ใหญ่ และ 6 mg ในเด็กเล็ก) เสี่ยงต่อการเสียชีวิตโพรไพลีนไกลคอล และสาร Glycerol/Glycerin เมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง นอกจากนี้ยังพบสารประกอบอีกมากมายในไอของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีข้อมูลว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Formaldehyde และกลุ่ม Benzene เป็นต้น จากการวิจัยยังพบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA ในเซลล์ปอด หัวใจ และกระเพาะปัสสาวะซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกาลิซา จึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทย ที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแรงจูงใจส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและผู้อยู่ใกล้เคียง

ร้อยละ 80 สร้างแรงจูงใจส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและผู้อยู่ใกล้เคียง

80.00 10.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่

ร้อยละ 80 ป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่

80.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย คัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจกลุ่มเป้าหมาย คัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกสำรวจ และ สัมภาษณ์ คนในชุมชน
ค่าอาหารและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
จำนวน  10 คน x  100 บาท  เป็น  1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตามเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองตรวจสุขภาพ วัดน้ำหนัก ส่วนสูง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองตรวจสุขภาพ วัดน้ำหนัก ส่วนสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาอุปกรณ์ การดำเนิน ~ เครื่องวัดความดันแบบ ดิจิตอล  ราคา   3500 บาท ~ เครื่องชั่งน้ำหนัก แบตดิจิตอล   ราคา    5500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองกลุ่มเป้าหมายทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ การป้องกันและการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ การป้องกันและการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ผู้เข้าโครงการ
เรื่อง บุหรี่และ บุหรี่ฟฟ้า โทษของบุหรี่ปัญหาเกิดขึ้นต่อสุขภาพ -ค่าไวนิลโครงการขนาด 120x240เป็นเงิน720 บาท -ค่าวิทยากร2 คน ชั่วโมงละ 600 บาท 4 ชั่วโมงเป็นเงิน 4800 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม พร้อมวิทยากร คณะทำงาน60 คน 2 มื้อ35 บาทเป็นเงิน3650 บาท -ค่าอาหารกลางวัน พร้อมวิทยากร คณะทำงาน 60 คน 60 บาท เป็นเงิน3600 บาท -ค่าวัสุดอุปกรณ์จัดโครงการจำนวน50 ชุดชุดละ150 บาทเป็นเงิน 7500 บาท -ค่าไวนิลความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าพร้อมขาตั้ง จำนวน4 ชุดชุดละ 1950บาทเป็นเงิน 7800 บาท -ค่าจ้างแผ่นพับ ความรู้เกี่ยวบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าจำนวน100 ชุด ชุดละ50 บาท เป็นเงิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้ความรู้ผู้เข้าโครงการ
เรื่อง บุหรี่  และ บุหรี่ฟฟ้า โทษของบุหรี่  ปัญหาเกิดขึ้นต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43070.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,070.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าโครงการ จัดตระหนักเรื่องของโทษบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง


>